วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่14ความหมายของวิทยาศาสตร์

ความหมายของวิทยาศาสตร์ คำว่า วิทยาศาสตร์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Science" ซึ่งมาจากศัพท์ภาษาลาตินว่า "Scientia" แปลว่า ความรู้ (Knowledge) ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลายดังนี้ ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 1) กล่าวว่า ถ้าจะให้นิยามความหมายของวิทยาศาสตร์ว่า "ความรู้" ตามความหมายที่แปลมาจากภาษาลาติน ดูเหมือนว่าจะมีความหมายที่สั้นและแคบจนเกินไป เพราะธรรมชาติหรือแก่นสารที่แท้จริงของวิทยาศาสตร์นั้นไม่ได้หมายถึงความรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ด้วย ซึ่งหมายความว่าในการเรียนวิทยาศาสตร์นั้นผู้เรียนจะต้องได้ทั้งตัวความรู้วิทยาศาสตร์ วิธีการ และเจตคติวิทยาศาสตร์ไปพร้อม ๆ กัน พัชราภรณ์ พสุวัต (2522 : 3) อธิบายว่า วิทยาศาสตร์ คือ วิชาที่มีเนื้อหาสาระซึ่งเป็นเรื่องราวของสิ่งแวดล้อม ปรากฎการณ์ธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ได้รวบรวมความจริง (facts) เหล่านั้นเพื่อนำมาประมวลเป็นความรู้ (knowledge) และตั้งเป็นกฎเกณฑ์ (principles) ขึ้น ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์. (2534 : 5) ได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ว่าหมายถึง ความรู้ที่แสดงหรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้องเป็นความจริง จัดไว้เป็นหมวดหมู่ มีระเบียบและขั้นตอน สรุปได้เป็นกฎเกณฑ์สากล เป็นความรู้ที่ได้มาโดยวิธีการที่เริ่มต้นด้วยการสังเกต และ/หรือ การจัดที่เป็นระเบียบมีขั้นตอน และปราศจากอคติ ซึ่งสอดคล้องกับการให้ความหมายของ The Columbia Encyclopedia (อ้างถึงใน สมจิต สวธนไพบูลย์ 2535 : 93) ซึ่งอธิบายว่า วิทยาศาสตร์ เป็นการรวบรวมความรู้อย่างมีระบบ ความรู้ที่ได้รวบรวมไว้นี้เป็นความรู้เกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติ ความเจริญก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นนั้น มิได้หมายถึงเฉพาะการรวบรวมข้อเท็จจริงเพียงสภาพพลวัต หรือมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและตามสภาพการกระตุ้นจากภายในหรือจากสภาพภายนอก ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกิดจากการสังเกตธรรมชาติและการวิเคราะห์วิจัย วิทยาศาสตร์จึงเป็นสากลเพราะเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยหลักการเดียวกัน วิทยาศาสตร์จึงไม่ถูกจำกัดด้วยเวลา สถานที่ และวัฒนธรรม อีกท่านหนึ่งที่ได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ไว้อย่างละเอียดและชัดเจน คือ มังกร ทองสุขดี (ม.ป.ป. : 1-2) ว่า วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ซึ่งมนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้าสะสมมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน และจะศึกษาต่อไปในอนาคตอย่างไม่รู้จักจบสิ้น มนุษย์ได้พยายามศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมว่า 1. สิ่งต่าง ๆ มีความเป็นมาอย่างไร 2. สิ่งเหล่านั้นมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างไรบ้าง 3. พัฒนาการของสิ่งเหล่านั้นมีระเบียบแบบแผน หรือมีหลักเกณฑ์อย่างไร และจะบังเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไร 4. มนุษย์จะนำความรู้ทั้งหลายมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไรบ้างยิ่งกว่านั้นวิทยาศาสตร์ยังเป็นความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ทดสอบได้เป็นความรู้ที่มีขอบเขต มีระเบียบ กฎเกณฑ์ เป็นความรู้ที่มีรากฐาน มาจาการสังกต การจดบันทึก การตั้งสมมุติฐาน โดยใช้หลักฐานทางปรัชญา และตรรกศาสตร์ แล้วพยายามวัดหรือหาค่าออกมาทั้งในด้านคุณค่า (นามธรรม) และปริมาณ (รูปธรรม) ถ้าจะเปรียบวิทยาศาสตร์เสมือนต้นไม้ใหญ่แล้วรากแก้วที่สำคัญ 3 ราก คือ วิชาปรัชญา ตรรกศาสตร์ และคณิตศาสตร์พร้อมกันนี้ สุวัฒก์ นิยมค้า (2531 : 105-107) ได้รวบรวมทัศนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความหมายของวิทยาศาสตร์ จากนักวิทยาศาสตร์และนักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ไว้ดังนี้คือ
1. แนช (Nash) นักเคมีกล่าวว่า วิทยาศาสตร์เป็นวิถีทางอย่างหนึ่งของการเข้าไปสำรวจโลก ซึ่งถือเป็นการมองวิทยาศาสตร์ในฐานะกระบวนการ 2. วิกเนอร์ (Wigner) นักฟิสิกส์กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ คือ ความรู้ของ ปรากฎการณ์ธรรมชาติที่ได้สะสมไว้ ซึ่งถือเป็นการมองวิทยาศาสตร์ในฐานะตัวความรู้ 3. บูเบ้ (Bube) นักฟิสิกส์ กล่าวว่า วิทยาศาสตร์คือ ความรู้ของโลกธรรมชาติ ซึ่งได้มาโดยผ่านการปะทะสังสรรค์กับประสาทสัมผัส ซึ่งถือเป็นการมองวิทยาศาสตร์ในฐานะตัวความรู้กับกระบวนการ โดยเน้นว่า กระบวนการที่ขาดไม่ได้ คือ การสังเกต 4. ฟิชเชอร์ (Fischer) คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและคณิตศาสตร์ วิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอเนีย กล่าวว่า วิทยาศาสตร์คือ องค์ของความรู้ ซึ่งได้มาโดยวิธีการวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยการสังเกตเป็นพื้นฐาน 5. สแตฟฟอร์ด และคณะ (Stafford and others) นักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ไว้ 6 ประการ ดังนี้ คือ 5.1 วิทยาศาสตร์ เกี่ยวข้องกับการมีประสบการณ์ตรงกับปรากฎการณ์ของธรรมชาติ (วัตถุและเหตุการณ์ที่แวดล้อมเราอยู่) แล้วมีการรวบรวมรายละเอียดปลีกย่อยเกี่ยวกับวัตถุและเหตุการณ์นั้น ๆ 5.2 วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการจัดกระทำข้อมูลและการตีความหมายข้อมูลที่ได้ 5.3 วิทยาศาสตร์มีธรรมชาติเป็นคู่แฝด ด้านหนึ่งนั้นเป็นการสะสมความรู้ที่ได้ผ่านการทดลองแล้ว และอีกด้านหนึ่งจะเป็นวิธีการค้นหาความรู้ 5.4 วิทยาศาสตร์มีธรรมชาติที่ท้าทายความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ 5.5 วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับความพยายาม ที่จะอธิบายปรากฎการณ์ที่ เกิดขึ้น หรืออธิบายกฎเกณฑ์ที่ได้จากปรากฎการณ์นั้น รวมทั้งการขยายความรู้ให้กว้างออกไปเลยจากประสบการณ์ที่ได้รับ 5.6 ความรู้วิทยาศาสตร์ที่ได้รับเพิ่มนั้น มีลักษณะสืบต่อจากความรู้เก่าที่มีคนค้นพบไว้แล้ว นักวิทยาศาสตร์คนใหม่ จะอาศัยความรู้และความคิดของนักวิทยาศาสตร์คนก่อน ๆ เป็นบันไดก้าวไปหาความรู้ใหม่ต่อไป 6. จาคอบสันและเบอร์กแมน (Jacobson & Bergman) ได้อธิบายธรรมชาติและโครงสร้างของวิทยาศาสตร์ว่า ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 6.1 ส่วนที่เป็นความจริงพื้นฐาน ที่ไม่ต้องพิสูจน์ (assumptions in science)
6.2 ส่วนที่เป็นวิธีการ และกระบวนการวิทยาศาสตร์ (methods and processes of science) 6.3 ส่วนที่เป็นตัวความรู้ (broad generalizations of science)จากการที่มีผู้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ไว้หลากหลายสรุปได้ 4 ประเด็นดังนี้ คือ 1. จากความหมายของรากศัพท์ของวิทยาศาสตร์ จากภาษาลาติน หมายถึง องค์ความรู้ที่มีระบบและจัดไว้อย่างเป็นระเบียบแบบแผน 2. จากการวิเคราะห์ประวัติการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์นั้น วิทยาศาสตร์ประกอบด้วยส่วนที่เป็นตัวความรู้ของธรรมชาติที่ค้นพบกับส่วนที่เป็นวิธีการเฉพาะที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้นั้นมา 3. จากการให้ความหมายตามทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ จะมี 3 ประเด็น คือ 3.1 มองวิทยาศาสตร์ในฐานะที่เป็นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ของธรรมชาติ 3.2 มองวิทยาศาสตร์ในฐานะที่เป็นองค์ความรู้ธรรมชาติ 3.3 มองวิทยาศาสตรเป็นทั้งองค์ความรู้ของธรรมชาติ และกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ของธรรมชาติ 4. จากการให้ความหมายตามทัศนะของนักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์นั้น วิทยาศาสตร์มีลักษณะเป็น 2 มิติ ควบคู่กันไป คือ มิติทางด้านองค์ความรู้ของธรรมชาติ และ มิติทางด้านกระบวนการที่ใช้สืบเสาะหาความรู้นั้น

สัปดาห์ที่13ความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์

ความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์

ในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหมดนั้น อาจกล่าวได้ว่า จุลินทรีย์มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก คือ มีความหลากหลายของสปีชีส์ หรือความหลากหลายของชนิดพันธุ์ จำนวน จุลินทรีย์ในโลกนี้มีอยู่ประมาณ 5 แสนชนิด แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 5 กลุ่ม คือ แบคทีเรีย สาหร่าย ไวรัส โพรโทซัว และราชนิดต่างๆ ซึ่งสามารถจำแนกเป็นอาณาจักรที่ต่างกันได้ถึง 3 อาณาจักร เนื่องจากมีวิธีการได้อาหารที่แตกต่างกัน และมีลักษณะโครงสร้างของเซลล์ที่ต่างกัน กล่าวคือ กลุ่มที่จัดอยู่ในอาณาจักรโมเนรา (Monera) ประกอบด้วยจุลินทรีย์พวกโพรคาริโอต ซึ่งมีเซลล์แบบโพรคาริโอติกเซลล์ (Prokaryotic cell) คือ ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ส่วนใหญ่ได้อาหารโดยการดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้วเข้ามาในเซลล์ มีบางชนิดที่สังเคราะห์แสงได้ ส่วนใหญ่สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแบ่งตัวจากหนึ่งเป็นสอง ในกลุ่มนี้ ได้แก่ แบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue green algae) ที่ปัจจุบันเรียกชื่อใหม่ว่า ไซยาโนแบคทีเรีย (Cyanobacteria) กลุ่มจุลินทรีย์ที่จัดอยู่ในอาณาจักรโพรทิสตา (Protista) ประกอบด้วย สาหร่าย โพรโทซัวและราเมือก กลุ่มนี้มีลักษณะเซลล์แบบยูคาริโอติกเซลล์ (Eukaryotic cell) ซึ่งมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส และมีวิธีได้อาหารแตกต่างกัน ได้แก่ สาหร่าย ได้อาหารโดยการสังเคราะห์แสงเพราะมีคลอโรพลาสต์ จึงเป็นผู้ผลิตของระบบนิเวศ โพรโทซัวมีการดำรงชีวิตคล้ายสัตว์ ได้อาหารโดยการกินสิ่งมีชีวิตอื่น มีบางชนิดที่มีคลอโรพลาสต์ด้วย จึงช่วยในการสังเคราะห์แสงได้ บางชนิดเป็นปรสิตอยู่ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตอื่น ส่วนราเมือก (Slime mold) ได้อาหารโดยส่งเอนไซม์ออกมาย่อยอาหารนอกเซลล์ แล้วดูดสารอาหารเข้าเซลล์ จึงดำรงชีวิตเป็นแซโพรไฟต์ อาณาจักรฟังไจ (Fungi) ได้แก่ ยีสต์ที่มีลักษณะเซลล์เดียว เห็ดและราที่มีหลายเซลล์เรียงเป็นเส้นใยจำนวนมาก เรียกว่า ไมซีเลียม เห็ด รา และยีสต์ เป็นพวกยูคาริโอตที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้ ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตเป็นแซโพรไฟต์ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยให้เป็นสารโมเลกุลเล็ก ส่วนน้อยเป็นปรสิตทำให้เกิดโรคกับพืช สัตว์ และคน
นอกจากจุลินทรีย์ใน 3 อาณาจักรนี้แล้ว ยังมีไวรัสซึ่งไม่จัดเป็นเซลล์ เพราะมีโครงสร้างง่ายๆ มีเพียงสารพันธุกรรมชนิด DNA หรือ RNA อย่างใดอย่างหนึ่ง และมีเปลือกโปรตีนที่เรียกว่า แคปซิด (Capsid) ล้อมรอบสารพันธุกรรมไว้ ก็จัดเป็นอนุภาคไวรัสที่สมบูรณ์แล้ว ไวรัสบางชนิดอาจมีเอนเวลโลป (envelope) ล้อมรอบเปลือกโปรตีนอีกชั้นหนึ่ง เอนเวลโลปประกอบด้วยโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ไวรัสไม่มีออร์แกเนลล์ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต จึงต้องอาศัยกลไกภายในเซลล์โฮสต์ (host) ที่มันเข้าไปอาศัยอยู่ จึงจัดไวรัสเป็นปรสิตที่แท้จริงภายในเซลล์ (obligate intracellular parasite) ของคน สัตว์ พืช และจุลินทรีย์อื่นๆ
จุลินทรีย์มีความหลากหลายทางพันธุกรรม เพราะจุลินทรีย์สปีชีส์เดียวกันอาจไม่ได้มีลักษณะที่เหมือนกันทุกประการ ทำให้แบ่งย่อยออกเป็นสายพันธุ์ (strain) ต่างๆ ได้อีก ความแตกต่างทางพันธุกรรมนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากกระบวนการวิวัฒนาการอันยาวนานนับพันล้านปี เนื่องจากจุลินทรีย์ ได้กำเนิดขึ้นมาบนโลกเมื่อประมาณ 3,500 ล้านปีมาแล้ว ความแตกต่างทางพันธุกรรม ทำให้จุลินทรีย์สามารถปรับตัวให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและมีความรุนแรงได้ ดังนั้น ความหลากหลายทางพันธุกรรม จึงเป็นผลให้จุลินทรีย์ปรับตัวให้เหมาะสมกับถิ่นที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันได้ อันเป็นความหลากหลายทางระบบนิเวศ (ecological diversity) จึงทำให้สามารถพบจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อมทุกหนทุกแห่ง ตั้งแต่บริเวณที่เย็นจัดแม้ในหิมะและน้ำแข็งขั้วโลก จนถึงบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ในบ่อน้ำพุร้อน แม้แต่ในทะเลลึกที่มีความกดดันของน้ำมากๆ ก็ยังมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ได้ พบได้ทั้งในน้ำเค็ม น้ำจืด สระน้ำ ลำธาร น้ำไหล ในดินแฉะ บนก้อนหิน ดินทราย ตามเปลือกไม้ และพบได้ทั้งในสภาพซึ่งไม่มีออกซิเจนที่สิ่งมีชีวิตอื่นไม่สามารถอาศัยอยู่ได้
นอกจากนี้จุลินทรีย์ยังสามารถดำรงชีวิตได้ทุกรูปแบบทั้งแบบที่สังเคราะห์อาหารได้เอง โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อรวมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำให้เป็นคาร์โบไฮเดรต และได้ก๊าซออกซิเจนเป็นผลพลอยได้ กระบวนการนี้เรียกว่าการสังเคราะห์แสง ซึ่งพบกระบวนการนี้ในสาหร่ายทุกชนิด แบคทีเรียบางชนิดและไซยาโนแบคทีเรีย แบคทีเรียบางชนิดยังได้พลังงานจากกระบวนการออกซิเดชันสารเคมีอีกด้วย บางพวกสังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ ต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร จุลินทรีย์บางชนิด เช่น โพรโทซัว มีการเคลื่อนที่เพื่อนำสิ่งมีชีวิตหรืออาหารให้เข้ามาในเซลล์ แล้วใช้เอนไซม์ย่อยเป็นสารอาหารขนาดเล็กที่เซลล์นำไปใช้ได้ จุลินทรีย์บางชนิดอาจส่งเอนไซม์ออกจากตัวมาย่อยอาหารนอกเซลล์จนเป็นสารอาหารขนาดเล็กแล้วจึงดูดซึมสารอาหารเข้าเซลล์ก็ได้ เช่น เห็ด รา แบคทีเรีย จุลินทรีย์เหล่านี้จึงมักอาศัยอยู่ตามซากพืชซากสัตว์ที่ตายแล้ว และเป็นสาเหตุให้ซากเน่าเปื่อย เพื่อสลายเป็นสาร อนินทรีย์ในดินทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น จุลินทรีย์บางชนิดอาจปรับตัวให้เป็นปรสิต (parasite) เข้าไปอาศัยอยู่ในร่างกายหรือเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น พืช สัตว์ และมนุษย์ และอาศัยอาหารจากพืช สัตว์เหล่านั้น ซึ่งทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านหรือโฮสต์ ทำให้โฮสต์เกิดโรคขึ้น
ในการเปลี่ยนอาหารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นพลังงานที่จุลินทรีย์ใช้ในการดำรงชีวิตนั้นเกิดขึ้นโดยกระบวนการหายใจ ซึ่งมีอยู่ 3 แบบ คือ แบบที่ใช้ออกซิเจนอิสระ แบบที่ไม่ใช้ออกซิเจน และแบบกระบวนการหมัก มีจุลินทรีย์จำนวนมากที่ใช้กระบวนการหายใจแบบใช้ออกซิเจนจากอากาศในการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน แต่จุลินทรีย์บางชนิดในกระบวนการหายใจไม่ต้องอาศัยก๊าซออกซิเจน พวกนี้เมื่อสลายอาหารแล้วมักได้ก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น จุลินทรีย์บางชนิด เช่น ยีสต์ อาศัยกระบวนการหมักในการเปลี่ยน อาหารให้เป็นพลังงาน และยังได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารอินทรีย์ที่เรานำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ กรดแล็กติก กรดน้ำส้ม กรดซักซินิก เป็นต้น
จุลินทรีย์ส่วนใหญ่ต้องได้อาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น จึงมีความสัมพันธ์ร่วมกับสิ่งมีชีวิต ทั้งแบบปรสิตที่ทำให้เกิดโรคกับโฮสต์ดังกล่าวแล้ว หรือจุลินทรีย์บางชนิดอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นโดยไม่ทำอันตราย แต่กลับให้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน ที่เรียกว่าภาวะพึ่งพากัน (mutualism) ตัวอย่างความสัมพันธ์นี้ ได้แก่ ไลเคนส์ ไรโซเบียมที่อยู่กับปมรากถั่ว โพรโทซัวไตรโคนิมฟาที่อยู่กับปลวกเป็นต้น
ไลเคนส์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างราและสาหร่าย ซึ่งต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน ไลเคนส์สามารถเจริญได้บนหินหรือเปลือกไม้ หรือบริเวณที่แห้งแล้งไม่เหมาะกับการเจริญของพืชอื่น ไลเคนส์จำนวนมากเจริญได้ที่อุณหภูมิต่ำแถบขั้วโลกและบนภูเขาสูง ไลเคนส์ประกอบด้วยไมซีเลียมของราอัดกันแน่นอยู่ชั้นบน ข้างใต้เป็นกลุ่มเซลล์ของสาหร่ายและด้านล่างลงไปเป็นชั้นของรา ซึ่งยึดติดกับพื้นดินด้วยไฮฟา
ไลเคนส์เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงมลภาวะของอากาศ บริเวณใดที่อากาศมีมลพิษมาก จะไม่พบไลเคนส์เจริญอยู่ การมีไลเคนส์เจริญอยู่ที่ใดแสดงว่าอากาศบริเวณนั้นมีความบริสุทธิ์
การเปลี่ยนแปลงสภาพระบบนิเวศอย่างรุนแรง อาจมีผลทำให้จุลินทรีย์สูญพันธุ์ได้ เช่น การพลิกหน้าดิน โดยการไถพรวนด้วยเครื่องจักรขนาดใหญ่ อาจทำให้จุลินทรีย์ชนิดที่อยู่ใต้ดินถูกพลิกขึ้นมาผิวดิน และเผชิญกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่มีอากาศและแสงแดดรุนแรง หรือในกรณีกลับกัน จุลินทรีย์ชนิดที่อยู่หน้าดินและชอบอากาศและแสงแดด อาจถูกพลิกกลับลงไปอยู่ใต้ดินซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับมัน จุลินทรีย์เหล่านี้อาจปรับตัวไม่ทันและตายได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ให้สามารถเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่รุนแรงได้ โดยมีโครงสร้างพิเศษ เช่น สปอร์ ซีสต์ แคปซูล ทำให้ทนต่อความแห้งแล้ง ความร้อน สารเคมี รังสีต่างๆ และแรงกดดันต่างๆ ได้ จึงทำให้จุลินทรีย์พวกนี้มีชีวิตรอดมาจนทุกวันนี้

สัปดาห์ที่12การทำหมัน

การทำหมัน (อังกฤษ: sterilization, –lisation) คือเทคนิคการผ่าตัดอย่างหนึ่งที่ทำให้เพศชายหรือเพศหญิงไม่สามารถให้กำเนิดลูกได้ การทำหมันเป็นวิธีการหนึ่งของการคุมกำเนิด สำหรับภาวะที่ไม่สามารถให้กำเนิดลูกซึ่งไม่ใช่สาเหตุจากการผ่าตัด ดูที่ความเป็นหมัน (infertility)
วิธีการทั่วไปของการทำหมันมีดังนี้
การตัดหลอดนำอสุจิในเพศชาย (vasectomy) หลอดนำอสุจิทั้งสองข้าง (vasa deferentia) ซึ่งเป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่างอัณฑะกับต่อมลูกหมาก จะถูกตัดและมัดปิดไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวอสุจิที่สร้างขึ้นในอัณฑะรวมตัวกับน้ำอสุจิเมื่อเกิดการหลั่ง ในทางการแพทย์เรียกวิธีการนี้ด้วยอีกชื่อหนึ่งว่า deferentectomy
การตอนในเพศชาย (castration) เป็นการผ่าตัดเพื่อนำอัณฑะออกไปเพื่อไม่ให้สามารถสร้างตัวอสุจิได้อีก หรือตัดอวัยวะเพศทั้งหมดในวัฒนธรรมสมัยโบราณ (เช่นขันที) เทคนิคนี้มักใช้กับการทำหมันสัตว์ ซึ่งจะทำให้สัตว์ลดความก้าวร้าว ลดพฤติกรรมทางเพศได้อย่างมาก และทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังเช่นการขุนสัตว์ให้อ้วนเพื่อเร่งการผลิตเนื้อ
การผูกท่อนำไข่ในเพศหญิง (tubal ligation) ท่อนำไข่ (Fallopian tubes) ซึ่งเป็นที่ที่ตัวอสุจิทำการปฏิสนธิกับเซลล์ไข่และนำพาเซลล์ไข่ที่ผสมแล้วไปยังมดลูก จะถูกตัดและมัดปิดไว้ วิธีการนี้จะต้องใช้ยาชาและเทคนิคของการผ่าช่องท้อง (laparotomy) กับการใช้กล้องส่องตรวจเข้าช่วยในการผ่าตัด นอกจากนั้นยังมีวิธีการที่นิยมน้อยกว่าคือกระบวนการ Essure โดยใช้วัตถุขนาดเล็กที่ทำมาเฉพาะสอดผ่านหลอดสวนเข้าทางมดลูกและอุดปิดที่ท่อนำไข่ ซึ่งช่วยให้ไม่เกิดรอยแผลเป็นเนื่องจากการผ่าตัด
การตัดมดลูกในเพศหญิง (hysterectomy) เป็นการผ่าตัดเพื่อนำมดลูกออกไปซึ่งเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์โดยถาวร วิธีนี้ยังใช้สำหรับการรักษาโรคบางโรคเช่น มะเร็งมดลูก (uterine cancer

สัปดาห์ที่11 การผสมเทียมสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายในร่างกาย

การผสมเทียมสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายในร่างกาย
สัตว์ที่มีการปฏิสนธิในร่างกายของสัตว์ ที่นิยมการผสมเทียม ได้แก่ โค กระบือ สุกร แพะ แกะ มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
1. การรีดน้ำเชื้อ เป็นการรีดน้ำเชื้ออสุจิจากสัตว์พ่อพันธุ์ที่ดี มีความแข็งแรงสมบูรณ์ และมีอายุพอเหมาะ โดยใช้เครื่องมือสำหรับรีดน้ำเชื้อโดยเฉพาะ
2. การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ เป็นการตรวจสอบความสมบูรณ์ของน้ำเชื้อที่รีดได้ว่ามีปริมาณของตัวอสุจิมากพอแก่การผสมเทียม และมีความแข็งแรงเพียงพอแก่การนำมาใช้หรือไม่
3. การเก็บรักษาน้ำเชื้อ เป็นการเก็บรักษาน้ำเชื้อก่อนที่จะนำไปใช้ โดยจะมีการเติมอาหารลงในน้ำเชื้อเพื่อให้ตัวอสุจิได้ใช้เป็นอาหารตลอดช่วงที่เก็บรักษาและเป็นการช่วยให้ปริมาณน้ำเชื้อมีมากขึ้น จะได้นำไปฉีดให้ตัวเมียได้หลาย ๆ ตัว หลังจากนั้นจะนำน้ำเชื้อที่เติมอาหารแล้วไปเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. การเก็บน้ำเชื้อสด เป็นการเก็บน้ำเชื้อในสภาพของเหลวในที่อุณหภูมิ 4 - 5 องศาเซลเซียส จะช่วยให้น้ำน้ำเชื้อมีอายุอยู่ได้ประมาณหนึ่งเดือน แต่หากเก็บรักษาไว้ที่ อุณหภูมิ 15- 20 องศาเซียส จะเก็บรักษาได้ประมาณ 4 - 5 วัน เท่านั้น
2. การเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่แข็ง เป็นการเก็บน้ำเชื้อโดยแช่ไว้ในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ ต่ำ - 196 องศาเซียส จะทำให้น้ำเชื้ออยู่ในสภาพของแข็ง วิธีการเก็บแบบนี้จะช่วยให้สามารถเก็บไว้นานเป็นปี
4. การฉีดเชื้อให้แม่พันธุ์ เมื่อจะผสมเทียมจะนำเชื้อสด หรือน้ำเชื้อแช่แข็งออกมาปรับสภาพให้อยู่ในสภาพปกติ แล้วใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเชื้อที่เตรียมไว้ฉีดเข้าไปในมดลูกของแม่พันธุ์ เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ และตั้งท้อง

สัปดาห์ที่10 การผสมเทียม

การผสมเทียม
การผสมเทียม หมายถึง การรีดน้ำเชื้อจากสัตว์พ่อพันธุ์แล้วนำไปฉีดเข้าในอวัยวะของสัตว์ตัวเมีย เมื่อสัตว์ตัวเมียนั้นแสดงอาการของการเป็นสัดแล้วทำให้เกิดการตั้งท้องแล้วคลอดออกมาตามปกติ ประโยชน์ของการผสมเทียม 1. ทำให้ประหยัดพ่อพันธุ์เมื่อรีดเก็บน้ำเชื้อจากสัตว์พ่อพันธุ์ได้แต่ละครั้งสามารถนำมาละลายน้ำเชื้อแล้วแบ่งใช้ผสมกับสัตว์ตัวเมียได้จำ นวนมาก 2. สามารถผสมพันธุ์สัตว์ที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กต่างกันได้ โดยไม่มีอันตรายจากการขึ้นทับของพ่อพันธุ์ 3. ไม่ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงพ่อพันธุ์ 4. ตัดปัญหาในเรื่องขนส่งโคไปผสมเพราะสามารถนำน้ำเชื้อไปผสมได้ไกล ๆ
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมเทียม โคตัวเมีย ที่แสดงอาการเป็นสัดดังกล่าว ควรจะได้รับการผสมเทียมในระยะเวลาช่วงกลางของการเป็นสัด หรือใกล้ระยะที่จะหมดการเป็นสัด (อาจจะหมดการเป็นสัดไปแล้วประมาณ 6 ชั่วโมงก็ได้ หรือเมื่อโคเพศเมียตัวนั้นยืนนิ่งให้ตัวอื่นขึ้นขี่ ซึ่งใช้เป็นหลักในการผสมพันธุ์) โดยทั่ว ๆ ไปโคเพศเมียจะมีระยะเป็นสัดประมาณ 18 ช.ม. แล้วต่อมาอีก 14 ช.ม. จึงจะมีไข่ตกเพื่อรอรับการผสมพันธุ์กับน้ำเชื้อพ่อโค จึงเห็นสมควรที่ต้องเลือกเวลาที่เหมาะสม ในการดำเนินการเรื่องของรับบริการผสมเทียมดังมีหลักการที่จะใช้ในการปฏิบัติงานผสมเทียมคือ 1. เมื่อโคเพศเมียตัวใดแสดงอาการเป็นสัดในตอนรุ่งเช้าของวันใดวันหนึ่ง ควรที่จะได้รับการผสมเทียมในวันเวลาเดียวกัน (ก่อน 16.30 น.) ฉะนั้นพอรุ่งเช้าของแต่ละวันเจ้าของสัตว์ควรที่จะได้ไปแจ้งและบอกเวลา (ประมาณ) ที่ท่านได้เห็นสัตว์ของท่านแสดงอาการเป็นสัด 2. ถ้าโคเพศเมียตัวใดแสดงอาการเป็นสัดในตอนบ่ายของวันใดวันหนึ่ง ควรที่จะได้รับการผสมเทียมตอนเช้าหรือก่อนเที่ยงของวันรุ่งขึ้น ฉะนั้นเจ้าของสัตว์เมื่อพบว่าสัตว์แสดงอาการเป็นสัดในตอนบ่ายหรือตอนเย็น ท่านควรจะไปแจ้งและบอกเวลาของการเป็นสัด (ประมาณ) ในรุ่งเช้าของวันต่อไปก็ได้ ถ้าท่านได้ศึกษาและรู้จักสังเกตการแสดงอาการเป็นสัด ว่าอาการเป็นอย่างไรและหาระยะเวลาที่จะผสมเทียมให้พอเหมาะแล้ว จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาเรื่องการผสมเทียมติดยากหรือผสมไม่ค่อยติดในโคเพศเมียของท่านได้ทางหนึ่ง และจะทำให้เป็นประโยชน์ในด้านการเพิ่มจำนวนและปริมาณน้ำนมในกิจการโคนมของท่านยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรที่จะเรียกช่วงเวลาอันสำคัญนี้ว่า "นาทีทองในโคนมตัวเมีย"
จะรู้ได้อย่างไรว่าโคตั้งท้องหรือไม่ เมื่อโคนาง ได้รับการผสมไปแล้วประมาณ 21 วันหากโคไม่กลับมาแสดงอาการเป็นสัดอีกก็อาจคาดได้ว่าผสมติดหรือโคตัวนั้น เริ่มตั้งท้องแล้ว เพื่อให้รู้แน่ชัดยิ่งขึ้นภายหลังจากการผสมโคนางแล้ว 50 วันขึ้นไปอาจติดต่อสัตวแพทย์หรือบุคคลผู้มีความ ชำนาญในการตรวจท้องแม่โค (โดยวิธีล้วงเข้าไปคลำลูกโคทางทวารของแม่โค) มาทำการตรวจท้องแม่โคก็จะทราบได้แน่ชัดยิ่งขึ้น........ข้อสังเกต ในกรณีโคสาว จะสังเกตได้จากการเจริญเติบโตที่เร็วขึ้น กินจุขึ้น ความจุของลำตัวโดยเฉพาะส่วนท้องซี่โครงจะกางออกกว้าง ขึ้น ขนเป็นมัน และไม่เป็นสัดอีก การคลอดลูก โดยทั่วไปแม่โคจะตั้งท้องประมาณ 283 วัน หรือประมาณ 9 เดือนเศษ ในช่วงนี้แม่โคจะได้การเอาใจใส่ดูแลเรื่องความเป็นอยู่และอาหารเป็นพิเศษ เพราะลูกในท้องเจริญขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในระยะก่อนคลอดประมาณ 45 - 80 วัน ควรเพิ่มอาหารผสมให้แก่แม่โคท้อง เพื่อแม่โคจะได้นำไปเสริมสร้างร่างกายส่วนที่สึกหรอ และนำไปเลี้ยงลูก หรือนำไปสร้างความเจริญเติบโตสำหรับอวัยวะบางอย่างที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุดและเพื่อไม่ให้แม่โคซูบผอม สำหรับแม่โคที่กำลังให้นม เมื่อตั้งท้องลูกตัวต่อไปควรจะหยุดรีดนมก่อนคลอดประมาณ 45 - 60 วัน สำหรับแม่โคท้องแรกหรือท้องสาวหรือแม่โคที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ (อายุไม่ถึง 5 ปี) แม้จะให้ลูกมาแล้ว 1 หรือ 2 ตัวก็ตาม ก่อนคลอดลูกตัวต่อไปควรจะหยุดพักการรีดนมเร็วกว่าแม่โคที่โตเต็มที่แล้ว อย่างน้อยก่อนคลอดประมาณ 45 - 60 วัน เพื่อให้แม่โคได้มีเวลาเตรียมตัวได้พักผ่อนร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ บ้าง มิฉะนั้นแม่โคอาจจะได้รับผลกระทบกระเทือน นั่นหมายถึงผลเสียหายที่จะตามมาภายหลังได้ เช่น ร่างกายจะชะงักการเติบโตเพราะอาหารไม่พอ ร่างกายไม่สมบูรณ์ เมื่อคลอดลูกออกมาลูกโคอ่อนแอ มีช่วงระยะการให้นมในปีต่อไปสั้นลง ผสมติดยาก ทิ้งช่วงการเป็นสัดนาน และอื่น ๆ เป็นต้น
อาการที่แม่โคแสดงออกเมื่อใกล้คลอด เราอาจจะสังเกตอาการต่างๆได้ดังนี้ 1. เต้านมขยายใหญ่ขึ้น 2. อวัยวะเพศขยายตัวขึ้น ยิ่งใกล้วันคลอดเข้ามาสังเกตเห็นมีน้ำเมือกไหลออกมาจากช่องคลอด 3. กระดูกเชิงกรานขยายตัวออกกว้างขึ้น โคนหางตรงกระดูกก้นกบจะบุ๋มลึกลงทั้งสองข้าง 4. ช่องท้องตรงสวาปจะลึกหย่อนลง 5. ยกหางขึ้น-ลงเล็กน้อยเป็นครั้งคราว 6. ถ้าเป็นโคที่ปล่อยรวมฝูงจะพยายามแยกตัวออกจากฝูง 7. แม่โคที่ถูกขังจะไม่สนใจในการกินหญ้า อาหาร ยืนกระสับกระส่าย ขกขาหลังแตะอยู่เรื่อย ๆ มีการเบ่งคลอดตลอดเวลา
ท่าคลอดปกติของลูกโค จะรู้ได้อย่างไรลูกโคคลอดปกติหรือไม่ ลักษณะการคลอดลูกในท่าปกติของแม่โค คือ ลูกโคจะเหยียดขาหน้าตรงออกมาพร้อมกันทั้งสอง (ส่วนหัวแนบชิดกับเข่า) จะเห็น เป็น 3 จุด คือ 2 กีบข้างหน้า และจมูก ถ้าหากมีลักษณะอื่น ๆ ผิดไปจากนี้ให้ถือเป็นการคลอดที่ผิดปกติ อาทิเช่น หัวพับหรือเอาด้าน หลังออกมาก่อนส่วนอื่น หรือกรณีที่ลูกโคมีขนาดใหญ่จนไม่สามารถผ่านช่องคลอดออกมาได้ หรือกรณีอื่น ๆ เช่นนี้ควรรีบติดต่อสัตวแพทย์มาช่วยทำการคลอด และหากลูกโคคลอดออกมาแล้วรกยังไม่ออกตามมาถ้าเกิน 12 ชั่วโมง ควรรีบตามสัตวแพทย์มาช่วยแก้ไข เพราะถือว่ามีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับแม่โค ซึ่งต้องรีบทำการรักษา หลังจากลูกโคคลอดออกมาแล้วควรรีบเช็ดทำความสะอาดตัวลูกโคให้แห้งโดยเร็ว โดยเฉพาะเมือกบริเวณจมูกปากและลำตัวพร้อมกับทำการตัดสายสะดือให้ห่างจากตัวโคประมาณ 1 นิ้วแล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน

สัปดาห์ที่9 คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน

คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน
ประมาณปี พ.ศ. 2500 คอมพิวเตอร์มีอยู่ในโลกนี้ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องในระบบเมนเฟรม ซึ่งมีขนาดใหญ่และราคาแพง ส่วนมากจะใช้งานทางด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากนัก แต่ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้มีขนาดเล็กลง และ ราคาก็ไม่แพงนัก คนทั่วไปสามารถซื้อหามาใช้ได้เหมือนกับเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไป
ในหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ก็มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในหน่วยงานขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมีการใช้สูงขึ้น เหตุผลที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น คือ
1 . คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก เช่น เก็บข้อมูลงานทะเบียนราษฏฐ์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยซึ่งสามารถตรวจสอบประ วัติของบุคคลต่างๆได้ เป็นต้น
2 . คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้รวดเร็ว งานบางอย่างคอมพิวเตอร์จะทำได้ในพริบตาในขณะที่ถ้าให้คนทำอาจจะต้องใช้เวลานา น
3 . คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องหยุดพัก คือทำงานได้ตลอดเวลา ในขณะที่ยังต้องมีไฟฟ้าอยู่
4 . คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ถ้ามีการกำหนดโปรแกรมทำงานที่ถูกต้อง จะไม่มีการทำงานผิดพลาดขึ้นมา
5 .คอมพิวเตอร์สามารถทำงานแบบคนได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ที่มีก๊าซพิษ กัมมันตภาพรังสี หรือในงานที่มีความเสี่ยงสูงในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานต่างๆ เช่น
1 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
ปัจจุบันตามสถานศึกษาต่างๆ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมากมาย รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่น การจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ การคัดคะแนนสอบ การจัดทำตารางสอน ใช้คอมพิวเตอร์ ในงานห้องสมุด การจัดทำตารางสอ น เป็นต้น
ตัวอย่างในการประยุกต์ด้านการศึกษา เช่น โปรแกรมรายงานการลงทะเบียนเรียน โปรแกรมตรวจข้อสอบ เป็นต้น
2 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม
คอมพิวเตอร์สามารถจะทำงานในด้านวิศวกรรมได้ตั้งแต่ขั้นตอนการลอกเขียนแบบ จนกระทั่งถึงการออกแบบโครงสร้างของสถาปัตยกรรมต่างๆ ต ลอดจน ช่วยคำนวณโครงสร้าง ช่วยในการวางแผน และควบคุมการสร้าง
3 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์
คอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เช่น เครื่องมือวิเคราะห์สารเคมี เครื่องมือการทดลองต่างๆ แม้กระทั่งการเดินทางของยานอวกาศต่างๆ การถ่ายพื้นผิวโลกบนดาวอังคาร เป็นต้น
4 . บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากมาย มีความรวดเร็ว และถูกต้อง ทำให้สามารถได้ข้อมูลที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจในการ ดำเนินธุรกิจ ตลอดจนงานทางด้านเอกสารงานพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น
5 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร
ในแวดวงธนาคารนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทมากที่สุด เพราะธนาคารจะมีการนำข้อมูล <> เป็นประจะทุกวัน การหาอัตราดอกเบี้ยต่างๆ นอกจากนี้การใช้บริการ ATM ซึ่งลูกค้าสามารถฝากถอนเงินได้จากเครื่องอัตโนมัติ ซึ่งมำให้สะดวกแก่ผู้ใช้บริการเป็น<>อย่างยิ่ง และเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน
6 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก ปัจจุบันเห็นได้ว่า ได้มีธุรกิจร้านค้าปลีกหรือที่เรียกว่า " เฟรนไซน์" เป็นจำนวนมาก ได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการ ให้บริการลูกค้า เช่น ให้บริการชำระ ค่าน้ำ - ไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามีการ online ระหว่างร้านค้าเหล่านั้นกับหน่วยงานนั้นๆ เพื่อสามารถตัดยอดบัญชีได้ เป็นต้น
" src="http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/life/counter.gif" border=0>
7 . บทบาทคอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์ คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ในการเก็บประวัติของคนไข้ ควบคุมการรับ และจ่ายยา ตลอดจนยังอยู่ในอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องมือผ่าตัด บันทึกการเต้นของหัวใจ ตรวจคลื่นสมอง และด้านการหาตำแหน่งของอวัยวะก่อนการผ่าตัด เป็นต้น
8 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในการคมนาคม และการสื่อสาร
ในการสื่อสาร" hspace=20 src="http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/life/telephone.gif" align=left border=0>
ในยุคปัจจุบัน เราเรียกว่าเป็นยุคที่เป็นการสื่อสารแบบไร้พรมแดน จะเห็นได้ว่ามีการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ในเคร ือข่ายสาธาระณะที่เรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถที่จะสื่อสารกับทุกคนได้ทั่วมุมโลก โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ และยังมีโปรแกรม<>ที่สามารถจะใช้ในการพูดคุยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันใช้คุยกัน หรือจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์สื่อสารกับเครื่องโทรศัพท์ที่บ ้านหรือที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งการส่ง pager ในปัจจุบันสามารถส่งทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องลูกได้ เป็นต้น
สำหรับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางโทรคมนาคมจะเห็นว่าปัจจุบันการจองตั๋วเครื่องบินจะมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นจำนวนมาก รวมถึงการจองตั๋วผ่านทาง Internet ด้วยตนเอง เห็นได้ว่าเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้บริการ และนอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายของสายการบินทั่วโลก ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกจองได้ตามสายการบินต่างๆ เป็นต้น
ตัวอย่าง การตรวจสอบราคาค่าโดยสารและเวลาของแต่ละเที่ยวบินผ่านทาง internet
9 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานด้านอุตสาหกรรม
ในวงการอุตสาหกรรมนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การวางแผนการผลิต กำหนดเวลาการผลิต จนกระทั่งถึงการผลิตสินค้า ควบคุมระบบ การผลิตทั้งหมด
ในรายงานทางอุตสาหกรรมได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการ ทำงานของเครื่องจักร เช่น การเจาะ ตัด ไส กลึง เป็นต้น ตลอดจนโรงงานผลิตรถยนต์ ก็จะใช้ หุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ในการทาสี พ่นสี รวมถึงการประกอบนรถยนต์ เป็นต้น
10 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงราชการ
คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในงานทะเบียนราษฏร์ ช่วยในการนับคะแนนการ เลือกตั้ง และการประกาศผลเลือกตั้ง การคิดภาษีอากร การเก็บข้อมูล สถิติสัมมโนประชากร การเก็บเงินค่าไฟฟ้า น้ำประปา ค่าใช้โทรศัพท์ เป็นต้น

สัปดาห์ที่8 การทำหุ่นจำลองเพื่อการออกแบบภายใน

การทำหุ่นจำลองเพื่อการออกแบบภายใน
Feb 5, '08 2:27 PMfor everyone
การทำหุ่นจำลองเพื่อการออกแบบภายใน
วัฒนา จิวะอนันต์

หุ่นจำลองหรือโมเดล (Models) โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นเครื่องมือสำหรับงานออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งสามารถใช้อธิบายถึงขนาดสัดส่วนระยะ ที่ว่าง (Space) ที่เกิดขึ้นในงานออกแบบ หรือรายละเอียดต่างๆของตัวอาคารได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และยังช่วยในการนำเสนอผลงานเพื่อให้ลูกค้าและคนทั่วไปที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านการออกแบบ ได้เข้าใจอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
แต่สำหรับงานออกแบบภายใน หุ่นจำลองมักจะถูกมองข้ามเสมอเนื่องจากการนำเสนอผลงานออกแบบภายในนั้นมักจะนำเสนอด้วยเทคนิคการเขียนทัศนียภาพ (Perspective) ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงขนาดสัดส่วน ที่ว่าง รูปร่าง สีสัน พื้นผิว แสงและบรรยากาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่งานออกแบบภายในส่วนใหญ่ต้องการนำเสนอ ด้วยวิธีการต่างๆเช่น การเขียนภาพลายเส้น ลงสีน้ำ สีหมึก และเทคนิคคอมพิวเตอร์ ที่ปัจจุบันสามารถนำเสนอได้ใกล้เคียงภาพจริงจนแทบจะแยกไม่ออกระหว่างภาพจริงและภาพที่สร้างขึ้นด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์
แต่สำหรับงานออกแบบภายในที่มีความสลับซับซ้อน เกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมนั้นการเขียนทัศนียภาพอย่างเดียวไม่สามารถอธิบายได้ถึงแนวความคิด ที่ว่าง และโครงสร้าง ที่เกิดขึ้นในงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์การทำหุ่นจำลองนั้นจึงมักเป็นทางออกที่ดีที่จะสามารถใช้อธิบายแสดงความเข้าใจ ถึงมิติของที่ว่างได้ดีกว่ารูปทัศนียภาพ

ช่วงการนำเสนอแนวความคิดในการออกแบบ (Conceptual design)
หุ่นจำลองในช่วงนี้จะแสดงถึงแนวความคิดในการออกแบบ อาจเป็นกึ่งประติมากรรมเพื่อแสดงให้แสดงแนวความคิดออกมาได้อย่างเต็มที่ โดยอาจจะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างหรือไม่ก็ได้หรืออาจทำเพื่อศึกษาโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ก่อนที่จะเริ่มทำการออกแบบภายใน ซึ่งอาจไม่มีรายละเอียดมากนัก เป็นการทำเพื่อแสดงความเข้าใจต่อแนวความคิด และโครงสร้างก่อนเริ่มต้นทำการพัฒนาแบบ

ช่วงแบบร่างขั้นต้น (Preliminary design)
หุ่นจำลองจะแสดงถึงแนวความคิดที่ประสานเข้าไปในโครงสร้างของสถาปัตยกรรม แสดงถึงที่ว่าง ที่เกิดจากแนวความคิดและการแก้ปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม หากเป็นงานต่อเติม ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอน ก็สามารถแสดงให้เห็นได้ในขั้นตอนนี้

ช่วงพัฒนาแบบ (Design development)
เป็นการทำหุ่นจำลองที่แสดงรายละเอียดมากขึ้น ก้อนที่ว่างที่ชัดเจนขึ้นในส่วนต่างๆ แสดงคุณสมบัติของวัสดุบางประเภทได้เช่น กระจกใส โปร่ง ผนังทึบ การเชื่อมที่ว่างทั้งแนวตั้งและแนวนอน การวางทิศทางของประโยชน์ใช้สอยในส่วนต่างๆ มิติของที่ว่าง แสงเงา หากเป็นงานปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของตัวอาคารก็สามารถแสดง ให้เห็นถึงการปิดทึบ หรือเปิดช่องแสงที่เข้ามาจากภายนอกได้ เพื่อสื่อหรืออธิบายถึงแสงที่จะเกิดขึ้นภายในงานออกแบบภายในได้

ช่วงออกแบบรายละเอียด (Detail design)
หุ่นจำลองอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดที่มากขึ้น ในงานออกแบบภายใน แสดงถึงที่ว่างเฉพาะส่วนสำคัญต่างๆภายในงานออกแบบภายใน หรือแสดงกลไกภายในงานเพื่อศึกษาและแสดงความเข้าใจต่อรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

การทำหุ่นจำลองในขั้นตอนต่างๆที่ได้กล่าวมาในข้างต้น บางขั้นตอนอาจไม่มีความจำเป็นสำหรับงานบางประเภท แล้วแต่ลักษณะของงานและสิ่งที่ต้องนำเสนอ โดยนักออกแบบจะต้องเลือกเทคนิคในการนำเสนอที่เหมาะสมกับลักษณะงานของตนเองให้มากที่สุด โดยการหุ่นจำลองในลักษณะของงานออกแบบภายในแล้ว อาจมีความจำเป็นที่ต้องทำในมาตรส่วนที่ใหญ่มากกว่าในงานสถาปัตยกรรม และอาจจะต้องเลือกเปิดผนังหรือเพดานบางส่วนหรือแสดงในลักษณะของรูปตัด (Section) เนื่องจากงานออกแบบภายในเป็นงานที่ไม่ได้อยู่ภายนอก ไม่สามารถแสดงให้เห็นโดยรอบได้จึงจำเป็นต้องเลือกเปิดหุ่นจำลองบางส่วนเพื่อดูลักษณะงานภายในได้ โดยไม่มีความจำเป็นที่ต้องทำหุ่นจำลองให้มีสีหรือพื้นผิวเหมือนจริง เพราะว่าอาจทำให้เกิดการเข้าใจผิด ซึ่งเทคนิคการเขียนทัศนียภาพก็สามารถแสดงถึงรายละเอียดของวัสดุได้ดีกว่าหุ่นจำลอง ในหุ่นจำลองอาจมีการเพิ่มหลอดไฟภายในหุ่นเพื่อแสดงถึงการจัดแสงภายในงานได้ การทำหุ่นจำลองในงานออกแบบภายในส่วนใหญ่ จึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม การแสดงก้อนที่ว่าง การเชื่อมก้อนที่ว่างทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งหุ่นจำลองสามารถอธิบายสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ดีกว่าการเขียนทัศนียภาพ

สัปดาห์ที่7 การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จากเศษอาหาร

การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จากเศษอาหาร
ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์

การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จากเศษอาหาร ทุกครัวเรือน ร้านอาหาร ภัตตาคาร ฯลฯ ล้วนมีเศษอาหารที่เป็นผักผลไม้ และเศษอาหารอื่น ๆ จำนวนมากน้อยแล้วแต่สถานที่ สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยหมักชั้นเลิศ เพื่อใส่พืชผักและผลไม้ที่ปลูกไว้ได้อุปกรณ์- ถังพลาสติกมีฝาปิดขนาด 20 – 200 ลิตร แล้วแต่ปริมาณเศษอาหารที่จะได้หรือต้องการ เจาะรูติดก๊อกน้ำบริเวณก้นถัง เพื่อไว้ระบายน้ำปุ๋ยหมัก ใช้ก๊อกให้มีขนาดโตพอสมควร เพื่อป้องกันการอุดตัน - ถุงขยะพลาสติกสีดำ เจาะรูเล็ก ๆ 2 – 3 รู เพื่อให้น้ำปุ๋ยหมักผ่านทะลุได้ หรือจะใช้ตาข่ายไนล่อนตาถี่เย็บเป็นถุงก็ได้ หรือจะใช้กระสอบปุ๋ยน้ำซึมผ่านได้ก็ใช้ได้ - นำเอาถุงใส่ปุ๋ยที่เตรียมไว้ ใส่ลงในถังหมักปุ๋ยที่มีวัสดุรองก้นถัง ให้สูงจากระดับก๊อกน้ำเล็กน้อย - ใช้กากน้ำตาล 20 – 40 ซีซี ใส่คลุกกับเศษอาหาร 1 ก.ก. และใส่จุลินทรีย์ EM ขยาย 10 – 20 ซีซี คลุกอีกครั้ง ใส่ลงในถุงใส่ปุ๋ยทุกวันจนเต็มถุง - ปิดฝาถังหมักไว้ตลอดเวลา หมักไว้อย่างน้อย 7 วัน ก็จะมีน้ำปุ๋ยหมักซึมออกมา อยู่ที่ก้นถังหมัก - ไขก๊อกเอาน้ำปุ๋ยหมักที่ได้ไปผสมน้ำในอัตรา 1 : 500 – 1,000 รดพืชและต้นไม้ทุก ๆ วัน - ผสมน้ำปุ๋ยหมักกับอัตราส่วน 1 : 20 – 50 หรือไม่ผสมก็ได้ราดพื้นห้องส้วมชักโครกหรือจุดที่มีกลิ่นเหม็นบริเวณบ้าน หรือราดในท่อน้ำทิ้งเพื่อดับกลิ่นก็ได้ผลดี - กากอาหารที่เหลือก็สามารถไปคลุมกับดินเป็นปุ๋ยต้นไม้ได้ดี ข้อสังเกตถ้าหมักได้ที่จะไม่มีแมลงวันหรือมีกลิ่นเหม็น แต่กลิ่นจะหอมอมเปรี้ยว ถ้ามีกลิ่นเหม็นและมีกลิ่นก๊าซแอมโมเนีย แสดงว่าหมักไม่ได้ผล ระหว่างหมักอาจจะมีหนอนแมลงวันเกิด แต่มันไม่กลายเป็นแมลงวัน จะเป็นหนอนตัวโตกว่าปกติ มีอายุอยู่นานได้หลาย ๆ วัน แล้วจะตายไปเอง

สัปดาห์ที่6 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
ปุ๋ยหมักชีวภาพคือ ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดิน สามารถผลิตได้มากใช้เวลาน้อย โดยการนำเศษวัสดุเหลือใช้ผสมคลุกเคล้าหมักรวมกับเศษมูลสัตว์ แกลบดำ รำละเอียด คลุมด้วยกระสอบป่านใช้เวลา 3 วัน สามารถนำไปใช้ได้
วัสดุการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
1. มูลสัตว์แห้งบดละเอียด 1 ปีบ
2. แกลบดำ 1 ปีบ
3. รำละเอียด 1 ก.ก.
4. น้าสกัดชีวภาพ
5. กากน้ำตาล
6. วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น แกลบ กากอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง ถั่วเขียว ขุยมะพร้าว อย่างไดอย่างหนึ่ง
วิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
1. ผสมวัสดุเข้าด้วยกัน
2.รดน้ำผสมน้ำสกัดชีวภาพและกากน้ำตาล (ใช้น้ำตาลทรายแดงแทนได้)
อัตราส่วน น้ำ 10 ลิตร
น้าสกัดชีวภาพ 2 ช้อนแกง
กากน้ำตาล 2 ช้อนแกง
จนปุ๋ยชื้นปั้นเป็นก้อนได้เมื่อแบมือ
3. กองปุ๋ยบนซีเมนต์ที่มีความหนาประมาณ 1 คืบ คลุมด้วยกระสอบป่านทิ้งไว้ 3 วัน สามารถนำไปใช้ได้
4. ลักษณะปุ๋ยที่ดีมีราขาว มีกลิ่นของราหรือเห็ด ไม่ร้อนมีน้ำหนักเบา
วิธีการใช้
1. ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพผสมดินในแปลงปลูกผักทุกชนิด อัตราปุ๋ย 1 ก.ก.ต่อพื้นที่ 1 ตร.ม.
2.พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง ฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักแห้งรองก้นหลุมประมาณ 1 กำมือ
3. ไม้ผล ควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้าใบไม้และปุ๋ยหมักแห้ง ประมาณ 1-21 ปุ้งกี๋ ส่วนไม้ผลที่ปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยรองทรงพุ่ม แล้วคลุมด้วยหญ้า ใบไม่ ฟางแห้ง
4. ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยคอกหมักทุก 7 วัน ประมาณ 1 กำมือ

สัปดาห์ที่5 การทำกิฟท์

ข้อความ : GIFT กิฟท์ (GIFT, Gamete intrafallopian transfer) คือวิธีการที่ใส่เชื้ออสุจิ (ที่เตรียมแล้ว) และไข่ (sperm and egg)เข้าไปในท่อนำไข่ของฝ่ายหญิง 1 หรือ 2 ข้าง ทั่วๆไปจะใส่ไข่ 2 ฟองร่วมกับตัวเชื้ออสุจิ 5 หมื่นถึง 1 แสนตัวต่อท่อ 1 ข้าง (รวมแล้วใช้ไข่ 4 ฟอง) ข้อบ่งชี้ 1. ภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ 2. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญนอกโพรงมดลูก 3. เชื้ออสุจิอ่อนแต่ไม่มาก 4. หลังจากไม่สำเร็จจากการผสมเทียมโดยใช้เชื้อชายอื่น ขั้นตอน 1. การกระตุ้นไข่ให้ได้ไข่หลายๆฟอง ในรอบธรรมชาติจะมีไข่เพียง 1 ฟองต่อเดือน แต่ในรอบที่จะใช้วิธีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น กิฟท์ เราจะกระตุ้นรังไข่หลายๆฟองเพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ ซึ่งมีหลายวิธีแต่วิธีการที่ใช้บ่อยคือ 1.1 วิธีที่ใช้ระยะเวลายาว (long protocol) โดยการให้ฮอร์โมนตัวหนึ่ง (GnRHa, gonadotropin releasing hormone agonists) อาจโดยการพ่นยาเข้าโพรงจมูกหรือฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง ประมาณ 7-10วันก่อนที่จะมีประจำเดือนให้ไป จนกระทั่งตรวจพบว่าระดับฮอร์โมนเอสตราไดออล (estradiol) มีระดับน้อยกว่า 30-35 พิโคกรัมต่อซี.ซี จึงเริ่มต้นยาฉีดเพื่อกระตุ้นรังไข่ ยาที่ใช้คือ hMG (human menopausal gonadotropin) หรือ FSH(follicle stimulating hormone) ซึ่งมีชื่อทางการค้าแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่จะให้ยาฉีดทุกวัน ติดตามผลการกระตุ้นรังไข่โดยการดูขนาดของถุงไข่(follicle) ด้วยเครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง อาจใช้ร่วมกับการตรวจเลือดเพื่อดูระดับ เอสตราไดออลซึ่งระดับจะสูงสัมพันธ์กับขนาด และจำนวนของถุงไข่ ให้ยาจนกระทั่งมีถุงไข่ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 18-20 มม.(จากการวัดโดยคลื่นเสียงความถี่สูง) จำนวนอย่างน้อย 2-3 ถุง จึงให้ฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่ง (hCG, human chorionic gonadotropin) ขนาด 5,000-10,000 ยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และจะทำการเจาะเก็บไข่ (ovum pick up) หลังจากยาฉีดประมาณ 34-36 ชั่วโมง 1.2 วิธีที่ใช้ระยะเวลาสั้น (short protocol) โดยการให้ฮอร์โมน GnRHa ) โดยการพ่นยาเข้าโพรงจมูกหรือฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง โดยเริ่มยาวันที่ 2-3 หลังจากที่มีประจำเดือนและให้ยาฉีดเพื่อกระตุ้นรังไข่ 1 วันหลังจากได้ฮอร์โมน GnRHa หลังจากนั้นขั้นตอนจะเหมือนกับวิธีที่ 1.1 2. การเจาะเก็บไข่ (ovum pick up) โดยทั่วๆไปจะใช้การเจาะผ่านทางช่องคลอดโดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงช่วย ส่วนน้อยจะเจาะผ่านผนังหน้าท้อง หรือผ่านทางกล้องส่องผ่านทางผนังหน้าท้อง จะกระทำภายใต้การให้ยาสลบ เพื่อไม่ให้เจ็บปวดหรืออาจให้เพียงยาระงับปวดร่วมกับยากล่อมประสาทก็ได้ 3. การเตรียมน้ำอสุจิ จะเตรียมน้ำอสุจิโดยการให้ฝ่ายชายเก็บอสุจิโดยการช่วยตัวเอง (masturbation) และนำน้ำอสุจิที่ได้ไป เตรียมทางห้องปฏิบัติการ 4. การใส่อสุจิร่วมกับไข่เข้าไปในท่อนำไข่ของฝ่ายหญิง โดยทั่วๆไปจะกระทำผ่านทางกล้องส่องเจาะผ่านผนังหน้าท้อง (ส่วนน้อยจะทำผ่านโพรงมดลูกและผ่านสายเข้าท่อนำไข่โดยใช้กล้องส่องภายในโพรงมดลูกหรือใช้คลื่นเสียงความถี่สูงช่วย) ส่วนใหญ่จะกระทำภายใต้การให้ยาสลบเพื่อไม่ให้เจ็บปวด 5. หลังใส่เชื้ออสุจิและไข่เข้าทางท่อนำไข่เรียบร้อยแล้วจะแนะนำให้นอนพักผ่อน แต่ไม่ถึงขนาดต้องนอนนิ่งๆบนเตียงตลอดเวลา อาจทำงานได้บ้างเบาๆ จะมีการให้ยารับประทานหรือยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือให้ยาทั้งสองชนิดร่วมกัน (ยารับประทานอาจให้เหน็บช่องคลอดได้) แล้วแต่แพทย์แนะนำ 6. ประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากทำกิฟท์ จะนัดมาเจาะเลือดเพื่อดูว่าตั้งครรภ์หรือไม่ โอกาสตั้งครรภ์ ประมาณ ร้อยละ 30-40 และที่สำคัญเสียเงินเยอะพอสมควรนะ จาก : wolfen GTW - 11/11/2001 12:08
ข้อความ : ) ในการทำกิ๊ฟนั้น มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ฝ่ายหญิงต้องมีท่อนำไข่ที่ดีอย่างน้อยหนึ่งข้าง และในการที่จะนำไข่และอสุจิไปไว้ที่ท่อนำไข่นั้น มักจะต้องผ่าตัดทางหน้าท้อง แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการหลีกเลี่ยงการผ่าตัดทางหน้าท้อง โดยการสอดผ่านทางปากมดลูกแทน แต่ก็ยังได้ผลไม่แน่นอน เนื่องจากท่อนำไข่มีขนาดเล็กมาก ในกรณีที่มีพังผืดในอุ้งเชิงกรานมาก การจับท่อนำไข่จะกระทำได้ลำบาก หรืออาจไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้หากไม่ตั้งครรภ์ภายหลังการทำกิ๊ฟ จะไม่สามารถทราบได้ว่า ไข่และอสุจิมีการผสมกันหรือไม่ ข้อดีของการทำกิ๊ฟ คือไม่ต้องอาศัยห้องปฏิบัติการ ที่จะทำการปฏิสนธิและเลี้ยงตัวอ่อน เช่นเดียวกับการทำเด็กหลอดแก้วซึ่งต้องมีอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนนักวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมกว่าการทำกิ๊ฟมาก เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์อื่นๆ ที่มีการทำกันพอสมควร คือ การนำตัวอ่อนไปใส่ไว้ในท่อนำไข่ แทนที่จะใส่ไว้โพรงมดลูก ทั้งนี้เนื่องจากตามธรรมชาติ ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตที่ท่อนำไข่เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อน จึงจะเดินทางมาฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก อย่างไรก็ดี เทคนิคนี้ฝ่ายหญิงก็ต้องมีท่อนำไข่ที่ดี และอาจมีความยุ่งยากในการหาท่อนำไข่ ตลอดจนการนำตัวอ่อนไปใส่ที่ท่อนำไข่ในบางราย เช่นเดียวกับการทำกิ๊ฟ

สัปดาที่4 เรื้องจิเอ็มโอ

สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ)
(Genetically Modified Organism-GMO)
แพทย์หญิงสายพิณ โชติวิเชียร
กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีโภชนาการ
การดัดแปลงพันธุกรรม (genetic modification) ไม่ว่าจะเป็นการดัดแปลงพันธุกรรมพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ จะทำให้ได้พืช สัตว์ จุลินทรีย์ หรือสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (genetically modified organism) หรือเรียกย่อเป็น GMO หรือจีเอ็มโอ ความเป็นมาของคำว่า สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม
(จีเอ็มโอ) อาจย้อนไปถึงในช่วงต้นของทศวรรษ 1800s ได้มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพที่เรียกว่า r-DNA เทคโนโลยีหรือพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) มาใช้ในการพัฒนาสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆกัน ทั้งในการปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ จุลินทรีย์ การผลิตยารักษาโรคและเภสัชภัณฑ์ ฯลฯ ในช่วงนั้นสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ที่นำมาใช้จะเป็นจุลินทรีย์(microorganism) ดังนั้นจุลินทรีย์ที่ได้มีการถูกดัดแปลงโดยวิธีการทางพันธุวิศวกรรม มีการเรียกว่าเป็น genetically engineered microorganism หรือ GEM ซึ่งอาจเรียกในภาษาไทยเป็น "จุลินทรีย์ที่ถูกดัดแปลงทางพันธุกรรม" แต่การดัดแปลงทางพันธุกรรม (genetic modification) ได้ครอบคลุมไปถึงพืช สัตว์ ด้วย ดังนั้นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมอาจเป็น "พืชดัดแปลงพันธุกรรม" (genetically modified plant หรือ transgenic plant) หรือ "สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม" (genetic modified animal หรือ transgenic animal) หรือถ้าเป็นสิ่งมีชีวิต (organism) ทั้งพืชและสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้สามารถเรียกรวมๆกันเป็น "สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม" (genetically modified organism) หรือ GMO(1)
จีเอ็มโอ หรือ GMOs – Genetically Modified Organisms คือ สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมเป็นผลผลิตจากการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม หรือ เทคนิคการตัดต่อยีน ในพืช สัตว์ หรือ
จุลินทรีย์ เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะเจาะจงตามที่ต้องการ เช่น ต้านทานแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมหรือเพิ่มสารโภชนาการบางชนิด เช่น วิตามิน จีเอ็มโอ ไม่ใช่สารปนเปื้อนและไม่ใช่สารเคมี แต่จีเอ็มโอคือสิ่งมีชีวิตที่เป็นผลพวงของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ซึ่งเกิดจากความตั้งใจของนักวิทยาศาสตร์ที่จะปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณสมบัติที่ดีตามที่ต้องการ เช่น การดัดแปรพันธุกรรมของมะเขือเทศให้มีลักษณะที่สุกงอมช้ากว่าปกติ การดัดแปรพันธุกรรมของถั่วเหลืองให้มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง เป็นต้น(2)
สารพันธุกรรมหรือที่เรียกว่า DNA เป็นสารเคมีที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยพันธุกรรมหรือ ยีน (GENE) และสิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาจจะเป็นสัตว์ พืช หรือจุลินทรีย์
จุลินทรีย์ GMO นั้นใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา และมีจุลินทรีย์ GMO ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการกำจัดคราบน้ำมันได้ดี
พืช GMO เช่น ฝ้าย ข้าวโพด มันฝรั่ง มะละกอ เรานิยมทำ GMO ในพืชเพราะว่าทำได้ง่ายกว่าสัตว์ และสามารถศึกษาพืช GMO ได้หลายๆ ชั่วอายุของพืช (Generation) เพราะว่าพืชมีอายุสั้นกว่าสัตว์ ซึ่งอายุของสัตว์แต่ละ Generation นั้นกินเวลานานหลายปี
สัตว์ GMO เช่น ปลาแซลมอน ซึ่ง Modified หมายความว่า ปลานี้ได้รับการปรุงแต่ง หรือดัดแปลงโดยมนุษย์ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร เพราะมนุษย์ล้นโลกได้เป็นอย่างดี จึงเป็นวิธีพัฒนาการทางด้านอาหารสำหรับบริโภคของมนุษย์
วิธีการทำ GMO(3)
ปัจจุบันนักเทคโนโลยีชีวภาพได้ทำการศึกษาวิจัยด้าน GENE หรือ GENOME ทำให้สามารถวิเคราะห์โครงสร้างในสิ่งที่มีชีวิตและยีน เพื่อปรับปรุงคุณลักษณะให้ดีกว่าเดิม คือ การทำ GMO นั่นเอง
GENETIC ENGINEERING หรือพันธุวิศวกรรมนั้น เป็นวิธีการที่เรียกว่า Biotechnology หรือเทคโนโลยีทางชีวภาพ เป็นวิธีการที่คัดเลือกสายพันธุ์โดยทำลงไปที่ยีนที่ต้องการโดยตรง แทนวิธีการผสมพันธุ์แบบเก่า แล้วคัดเลือกลูกสายพันธุ์ผสมที่มีลักษณะตามความต้องการ ถึงแม้ว่าจะใช้เวลานานก็ตาม
วิธีการทำ GMO มี 2 ขั้นตอนดังนี้
1. เจาะจงโดยการค้นหายีนตัวใหม่หรือจะใช้ยีนที่เป็น TRAITS (มีคุณลักษณะแฝง) ก็ได้ ตามที่เราต้องการ ยีนตัวนี้อาจจะมาจากพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ก็ได้
2. นำเอายีนจากข้อที่ 1. ถ่ายทอดเข้าไปอยู่ในโครโมโซมของเซลล์ใหม่ ซึ่งทำได้หลายวิธี
วิธีหลักที่ใช้กันในปัจจุบัน มี 2 วิธีคือ
2.1 ใช้จุลินทรีย์ เรียกว่า Agro-Bacterium เป็นพาหะช่วยพายีนเข้าไป ซึ่งคล้ายกับการใช้รถลำเลียงสัมภาระเข้าไปไว้ในที่ที่ต้องการ
2.2 ใช้ปืนยีน (GENE GUN) ยิงยีนที่เกาะอยู่บนผิวอนุภาคของทอง ให้เข้าไปในโครโมโซมเซลล์พืช กระสุนที่ยิงเข้าไปเป็นทองและนำ DNA ติดกับผิวของกระสุนที่เป็นอนุภาคของทอง และยิงเข้าไปในโครโมโซมด้วยแรงเฉื่อย จะทำให้ DNA หลุดจากผิวของอนุภาคของทอง เข้าไปอยู่ในโครโมโซม ส่วนทองก็จะอยู่ภายในเนื้อเยื่อโดยไม่มีปฏิกิริยาใดๆ
เมื่อเข้าไปที่ใหม่ จะโดยวิธี 2.1 หรือ 2.2 ก็ตาม ยีนจะแทรกตัวรวมอยู่กับโครโมโซมของพืช จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมพืช การถ่ายทอดยีนเข้าสู่พืชนั้นมิได้เป็นการถ่ายทอดเฉพาะยีนที่ต้องการเท่านั้น แต่เป็นการถ่ายทอดชุดของยีนเรียกว่า GENE CASSETTE โดยนักวิทยาศาสตร์ที่นำเอายีนที่ต้องการนั้น ไปผ่านขบวนการเสริมแต่ง เพื่อเพิ่มตัวช่วย ได้แก่ ตัวควบคุมการทำงานของยีนให้เริ่มต้นและยุติ และตัวบ่งชี้ปรากฏการณ์ของยีน ซึ่งตัวช่วยทั้งสองเป็นสารพันธุกรรมหรือยีนเช่นกัน ทั้งหมดจะถูกนำมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นชุดของยีนก่อนจะนำชุดของยีนนั้น ไปฝากไว้กับเชื้ออะโกรแบคทีเรียมหรือนำไปเคลือบลงบนผิวอนุภาคของทองอีกทีหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องพ่วงตัวช่วยเหล่านั้นกับยีนที่ต้องการเพื่อใส่ยีนเข้าไปในเซลล์พืช ให้สามารถทำงานได้ หรือสามารถควบคุมให้มีการสร้างโปรตีนได้ เมื่อมีตัวควบคุมการทำงานของยีนให้เริ่มต้นหรือให้ยุติ ก็เปรียบเหมือนกับสวิตช์ที่เปิดปิดได้นั่นเอง นอกจากนี้ยังต้องมีวิธีการติดตามหรือสะกดรอยชุดยีนที่ใส่เข้าไป โดยตรวจหาสัญญาณตัวบ่งชี้การปรากฏของยีน ซึ่งตัวบ่งชี้นี้ช่วยให้สามารถคัดแยกเซลล์พืชหรือต้นพืชที่ได้รับการใส่ชุดยีนได้
หลักสำคัญของการถ่ายยีน คือ
- ยีนที่จะถ่ายเข้าไปนั้นจะต้องมีความบริสุทธิ์ไม่มีสารใดปนเปื้อน เพราะสิ่งสกปรกจะลดประสิทธิภาพของการถ่ายยีน
- วิธีที่ใช้ถ่ายยีน ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระแสไฟฟ้า หรือสารเคมีที่ไม่เป็นอันตราย หรือการยิงกระสุนทองคำเคลือบชิ้นยีน โดยใช้แรงดันลมจากก๊าซเฉื่อย หรือการใช้แบคทีเรียชื่อ "อะโกรแบคทีเรีย" หรือ ซึ่ง 2 วิธีหลังนี้ใช้สำหรับการถ่ายยีนเข้าพืชเท่านั้น วิธีต่างๆ เหล่านี้นอกจากจะต้องมีประสิทธิภาพดีในการนำพาชิ้นยีนเข้าสู่เซลล์แล้ว ยังต้องไม่ทำอันตรายต่อเซลล์ เพราะมิฉะนั้นแล้วเซลล์ที่ได้รับการถ่ายยีนจะไม่สามารถเจริญขึ้นเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่สมบูรณ์ได้
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าในขั้นตอนของการดัดแปรพันธุกรรมนั้น ย่อมมีสารเคมีหรือสารชีวภาพบางตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สารเหล่านั้นจะถูกกำจัดออกไปในขั้นตอนการทำความสะอาดชิ้นยีนก่อนการถ่ายยีน ส่วนสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายยีนนั้น เป็นสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิต













เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมพืชทำได้โดยสรุป ดังรูป


ข้อดีของพืช GMO1. สามารถต้านทานโรคพืชชนิดรุนแรงได้2. สามารถต้านทานต่อยาปราบวัชพืช3. สามารถต้านทานอุณหภูมิต่ำ ๆ ได้4. สามารถขยายอายุการเก็บได้5. ทนต่อสภาพการขนส่งได้ดีขึ้น6. มีผลต่อการแปรรูป7. มีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น
ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นยุคที่เทคโนโลยีชีวภาพเฟื่องฟู มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการเกษตร เช่นการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีชีวภาพชั้นสูงในการพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ เช่น สามารถสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายเฉพาะเจาะจงกับแมลงศัตรู สามารถทนต่อยากำจัดวัชพืช สามารถต้านทานโรคที่เกิดจากไวรัส และมีสารโภชนการหรือวิตามินบางชนิดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธัญพืชที่เป็นอาหารหลัก ในปี พ.ศ.2535 ได้มีการนำสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) มาใช้เป็นอาหาร ได้แก่มะเขือเทศดัดแปลงพันธุกรรมให้มีคุณสมบัติสุกช้า (delayed ripening) และเอนไซม์เร็นเน็ท (rennet) ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเนยแข็ง ทั้งนี้เอนไซม์ดังกล่าวถูกผลิตขึ้นโดยจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมทั้งสองชนิดนั้น ทำให้เกิดกระแสการต่อต้านขึ้นทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมีมากขึ้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องของความปลอดภัยอาหาร เช่น การปนเปื้อนของโรควัวบ้า (mad cow disease) และการปนเปื้อนของสารไดออกซิน (dioxin) ในอาหาร จากเหตุการณ์ดังกล่าวจึงทำให้ผู้ผลิตอาหารส่วนใหญ่และกิจการซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ต้องการให้มีการรับรองว่าผลิตภัณฑ์อาหาร รวมถึงส่วนผสมต่างๆที่ใช้ในกระบวนการผลิตปลอดจาก
จีเอ็มโอ (GMOs free) (10)
พื้นที่ปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมทั่วโลกในปี พ.ศ. 2545 มีประมาณ 367 ล้านไร่ ร้อยละ 68 ปลูกในสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 23 ปลูกในอาร์เจนติน่า ร้อยละ 6 ปลูกในแคนาดา และ ร้อยละ 4 ปลูกในจีน (4)
อาหารที่มีอาจมีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอที่มีอยู่ในปัจจุบัน และพบได้ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป หรือ อียู ญี่ปุ่น แคนาดา และอื่นๆ ได้แก่ อาหารประเภทถั่วเหลือง ข้าวโพด มันฝรั่ง มะเขือเทศ มะละกอ และผักบางชนิด เป็นต้น แต่อาหารเหล่านี้ได้ผ่านขั้นตอนการประเมินความปลอดภัยอย่างเข้มงวดมาแล้ว จึงสามารถผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ ในกรณีน้ำนมจากแม่โคที่ได้รับฮอร์โมนที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมนั้น ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่าพบสารนี้ตกค้างในน้ำนม อย่างไรก็ตาม ฮอร์โมนที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมนี้ ไม่ใช่จีเอ็มโอ
การพัฒนาพืชอาหารดัดแปลงพันธุกรรมในประเทศไทย
มีการพัฒนาพืชอาหารท้องถิ่นหลายชนิดด้วยเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมโดยนักวิจัยจากหน่วยงานต่างๆเช่น ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร เป็นต้น ตัวอย่างพืชอาหารที่มีการพัฒนาคือมะละกอต้านทานโรคใบด่างจุดวงแหวนที่เกิดจากไวรัส มะเขือเทศ ฝ้ายบีที และอื่นๆ ซึ่งพืชดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้จะต้องผ่านขั้นตอนการประเมินความปลอดภัยที่เข้มงวด ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยมนุษย์ ก่อนที่จะถูกนำมาบริโภคเป็นอาหาร ในปัจจุบันมีเพียงถั่วเหลืองและข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมเท่านั้น ที่ได้รับการอนุญาตให้นำมาใช้ในกระบวนการผลิตอาหารได้
เทคโนโลยีชีวภาพพืชที่ประสบความสำเร็จสู่ระดับการค้า (วิเชียร , 2542 , 2543)
การควบคุมวัชพืช
การปลูกพืชโดยทั่ว ๆ ไปในโลกมนุษย์ ล้วนพบปัญหาการเกิดของวัชพืชในพืชที่เราต้องการปลูกเช่นเดียวกัน การปราบวัชพืชกระทำได้ 2 วิธี คือการใช้เครื่องมือและการใช้สารเคมี แต่การใช้สารเคมีจะได้รับความนิยมมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและราคาทว่าสารเคมีที่ใช้ปราบวัชพืชไม่สามารถแยกวัชพืชออกจากพืชที่เราปลูกจะทำลายหมดทุกอย่าง ด้วยเหตุนี้นักเทคโนโลยีชีวภาพพืชจึงได้ค้นคว้า และวิจัยยาปราบวัชพืชโดยอาศัยเทคนิคทางวิศวกรรมพันธุศาสตร์ผลิตสารปราบวัชพืชได้สำเร็จ 2 ชนิด คือ ไกลโฟเสท (glyphosate) และ กลูโฟซิเนท (glufosinate) มีชื่อทางการคำว่า ราวอัพ (Roundupâ ) และบาสต้า (Bastaâ ) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีสารปราบวัชพืชอื่น ๆ ที่พืชสามารถทนต่อ bromoxynil, sulfonylureas และ imidazolinones.
การควบคุมแมลง
นอกจากวัชพืชจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการปลูกพืชแล้ว ยังมีแมลงเป็นปัจจัยที่สำคัญรองลงมา การใช้ยาฆ่าแมลงแม้ว่าจะได้ผลแต่ก่อให้เกิดผลเสียที่ติดตามมาทั้งต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม และยาฆ่าแมลงทั่ว ๆ ไปไม่สามารถให้ผลต่อแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งที่เราต้องการ อาจทำให้คุณภาพของพืชที่เราปลูกลดลงด้วยเนื่องจากยาฆ่าแมลงมีผลกระทบต่อจุลินทรีย์ อันได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส
จุลินทรีย์ บางชนิดสามารถผลิตสารพิษ เช่น อัฟลาท๊อกซิน (aflatoxin) และฟูมิโนซิน (fuminosin)ซึ่งมีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ พืชที่สามารถต้านทานต่อแมลงได้ในรุ่นแรกใช้ยีนส์ บีที(Bt) จากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า บาซิลลัส ธูเรนเจียนซิส (Bacillus thurengiensis) (ดูรายละเอียดจากKishore, 1997 หน้า 792-794)
การควบคุมไวรัส
ไวรัสเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พืชสูญเสียอย่างมากในการเกษตรทั่วโลก เช่น ข้าว มะเขือเทศ อ้อย ฝ้าย เป็นต้น พันธุศาสตร์สามารถใช้ควบคุมไวรัสได้ดีที่สุดไวรัสที่พบในพืชมีทั้ง อาร์เอ็นเอ และดีเอ็นเอ ไวรัส การควบคุมไวรัสพืชสามารถทำได้ 2 หลักการดังนี้ :1. ไวรัสเคลือบโปรตีน (viral coat protein) เรียกย่อเป็น ซีพี (CP)2. อาร์เอ็นเอ - ดีเพนเดนท์ อาร์เอ็นเอ โพลีเมอเรส (RNA-depende RNA polymerase)
ในหลักการของซีพีเริ่มใช้กับยาสูบซึ่งมีไวรัส โทแบคโคโมซาอิค ไวรัส (Tobacco Mosaic Virus : TMV) และได้ขยายไปใช้กับมันฝรั่ง เรียกว่า โพเทโท้ ไวรัส เอกซ์ และวาย (Potato Virus X and Y : PVX และ PVY), แตงกวา เรียกว่า คิวคัมเบอร์โมซาอิค ไวรัส (Cucumber Mosaic Virus : CMV), มะละกอเรียกว่า พาพาย่า ริงสปอต์ ไวรัส (Papaya Ring Spot Virus : PRSV), แตงฝรั่ง เรียกว่า ซัคซินี่เยลโลว์ โมซาอิค ไวรัส (Zuccchini Yellow Mosaic Virus : ZYMV), แตงโม เรียกว่า วอเตอร์เมล่อน โมซาอิคไวรัส สอง (Watermelon Mosaic Virus II : WMV II) ดูรายละเอียดใน Fitchen และ Beachy, (1993)
ส่วนหลักการที่สอง ใช้ในมันฝรั่งที่เกิดจากไวรัสที่ส่วนของใบเรียกว่า โพเทโท้ ลีฟโรล ไวรัส (Potato Leaf Roll Virus : PLRV) (Kaniewski และคณะ1994) นอกจากนี้มีผู้ทดลองอื่น ๆ เช่น Baulcombe, 1994, Wilson 1993 และ Braun และ Hemenway, 1992)}
คุณภาพที่ดีขึ้น
นอกจากการควบคุมวัชพืช แมลง และไวรัสได้แล้วนักเทคโนโลยีชีวภาพพืช ยังได้ทำการปรับปรุงให้พืชมีคุณค่าทางอาหารดีขึ้น สามารถเก็บได้นานขึ้น และให้พืชสามารถผลิตสารทางชีวภาพอื่น ๆ ที่สำคัญได้อีกด้วย เช่น การผลิตมะเขือเทศที่มีอายุการเก็บได้นานขึ้น โดยทำให้น้ำย่อยหรือเอนไซม์ที่เรียกว่าโพลีกาแลคตูโรเนส (polygalcturonase) หยุดการทำงาน โดยเทคนิคที่เรียกว่า แอนตี้เซนต์ (antisense) จากความสำเร็จดังกล่าวทำให้เราทราบว่าถ้าหากต้องการให้พืชเก็บเก็บได้ ในสภาพสดนานขึ้นแล้วล่ะก็ สามารถกระทำได้โดยการชะลอฮอร์โมนที่เรียกว่า เอทธิลีนให้มีน้อยลงหรือไม่มีเลยเพราะฮอร์โมนชนิดนี้เป็นตัวการทำให้พืชเกิดการสุกและนิ่มเร็ว (Kende, 1994) เทคนิคดังกล่าวสามารถนำมาใช้กับผลไม้และผักที่มีอายุการเก็บได้สั้น ๆ จะได้มีอายุการเก็บได้นานขึ้น เช่น กล้วย มะม่วงเห็ด พริก ฯลฯ นอกจากนี้พืชบางชนิดสามารถนำมาผลิตสารประกอบที่มีคุณประโยชน์ จนมีการเรียกชื่อว่า พืชเป็นแหล่งผลิตแทนถังหมัก หรือที่เรียกว่า Plants as reactor (Goddijn และ Pen, 1995) พืชน้ำมันชนิดหนึ่งที่มีมากในแคนาดารู้จักในชื่อของคาโนลา (canola) ได้มีการใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมและทำให้คาโนลา สามารถผลิตประเภทของกรดไขมันตามที่เราต้องการได้ เช่น คาโนลาที่มีกรดไขมันลอเรท (laurate) สเตียเรท (stearate) และโอลีเอท (oleate) สูง (Topfer และคณะ, 1995) นอกจากกรดไขมันในคาโนลาแล้ว นักเทคโนโลยีชีวภาพพืชยังได้ถ่ายทอดยีนส์โพลีเมอร์ของโพลีไฮดรอกซีบิวทีเรท (poly hydroxybutyrate : PHB) จากแบคทีเรียสู่พืชเพื่อผลิตพลาสติกที่ย่อยสลายได้ (Poirier และคณะ, 1995) เมื่อเร็ว ๆ นี้ Rossnagel และ Chibbar, 1997 ได้ประสบความสำเร็จ
ในแปลงทดลองการปลูกข้าวบาร์เลย์ที่ผ่านการทำพันธุวิศวกรรมในแคนาดาโดยถ่ายทอดยีนส์สัญลักษณ์ (marker) และรายงาน (reporter) จากการรวบรวมข้อมูลการยอมรับแปลงทดลองของพืชที่ผ่านเทคโนโลยีชีวภาพเมื่อปี 1988 และ 1997 มีพืชที่รับรอง 14 และ 814 รายการตามลำดับ เฉพาะในแคนาดามีการใช้คาโนลา (พืชน้ำมัน) ที่ผ่านเทคโนโลยีชีวภาพในปี 1996-1997 จำนวนพื้นที่ที่ปลูก 350,000 และ 4,000,000 เอเคอร์ (ตามลำดับ) และในปี 1998 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 6,500,000 เอเคอร์ ในสหรัฐอเมริกา มีผลิตผลการเกษตรที่ผ่านการทำพันธุวิศวกรรมออกสู่การค้าแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994-1997 ได้แก่ มะเขือเทศ (ด้านคุณภาพเก็บได้นานขึ้น), คาโนลาถั่วเหลือง (พืชน้ำมัน), ฝ้าย ถั่วเหลือง ข้าวโพด (ทนต่อยาปราบวัชพืช), น้ำเต้า (squash) ทนต่อไวรัส, มันฝรั่ง ข้าวโพด และฝ้าย (ทนต่อแมลง) ดูรายละเอียดใน Wilkinson, 1997
อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอได้มีการผลิตในเชิงพาณิชย์และมีการบริโภคกันมา 9-10 ปีแล้ว ส่วนในทางการแพทย์นั้นเทคโนโลยีดัดแปรพันธุกรรมได้เข้ามามีบทบาทนานมากแล้ว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ อินซูลิน ที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน และยังมียารักษาโรคอีกหลายชนิดที่เป็นผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีนี้ ซึ่งจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีรายงานถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้อินซูลิน ยา และอาหารที่ได้ออกจำหน่ายไปแล้ว อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอจะต้องผ่านกระบวนการประเมินความปลอดภัยโดยใช้ "หลักการเทียบเท่า" หรือ Substantial equivalence ตามมาตรฐานสากล Codex และได้รับอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลก่อนนำออกจำหน่ายแก่ผู้บริโภค เช่น ในประเทศไทยกำหนดไว้ว่า ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปทุกประเภทต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอซึ่งผ่านกระบวนการประเมินความปลอดภัยและได้รับรองจาก อย.แล้วนั้น มีคุณประโยชน์หรือโทษไม่แตกต่างจากอาหารชนิดเดียวกันกับที่ไม่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ ตามปกติแล้วคุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับจากการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ และอาหารทั่วไปนั้นมีความเทียบเท่ากัน เว้นแต่กรณีที่มีการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการบางอย่างเข้าไปในจีเอ็มโอซึ่งเป็นส่วนประกอบของอาหาร อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอนั้น ก็จะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าอาหารปกติ
จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดขึ้นต่อร่างกายของผู้บริโภคทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ได้บริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอที่มีจำหน่ายในท้องตลาดและได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัยมาแล้ว ขณะนี้ยังไม่มีการรายงานว่า ผู้บริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอเข้าไปแล้ว อาหารนั้นจะส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว เนื่องจากการพัฒนาพันธุ์โดยเทคโนโลยีชีวภาพนั้นมีความจำเพาะสูง ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับวิธีการพัฒนาพันธุ์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้แล้วข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการประเมินความปลอดภัยนั้น จะต้องพิสูจน์ได้ว่าสารพันธุกรรมและผลผลิตที่เกิดขึ้น จะต้องปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย
(11)ส่วนผลกระทบกับสัตว์ กรมวิชาการเกษตรโดยนายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรม เปิดเผยว่าจากการเปรียบเทียบหนูทดลองที่กินมะละกอจีเอ็มโอ และมะละกอที่ไม่ใช่จีเอ็มโอ พบว่าทั้งน้ำหนักตัวและการขยายพันธุ์เป็นไปได้ตามปกติ แม้ผลการวิจัยดังกล่าวจะออกมาเช่นนี้ กรมก็ยังไม่ได้แนะนำพันธุ์ออกไปสู่เกษตรกร เพราะยังอยู่ในระหว่างช่วงของการทดลองวิจัย นอกจากมะละกอแล้ว งานวิจัยจีเอ็มโอที่กรมทำอยู่ในขณะนี้คือ ข้าวหอมมะลิ สับปะรด กล้วยไม้ แตงกวา ทุเรียน ส้มเขียวหวาน ถั่วเหลือง ฝ้าย ซึ่งวันนี้มีเพียงมะละกอชนิดเดียวที่ลงแปลง นอกนั้นยังอยู่ในห้องแล็บ