วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สัปดาที่3 สเปนปลูกถ่ายเนื้อหลอดลมเพาะจากสเตมเซลล์


สเปนปลูกถ่ายเนื้อเยื่อหลอดลมเพาะจากสเตมเซลล์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2008, 07:45:01 pm »
มาดริด 19 พ.ย.- นักวิทยาศาสตร์สเปนประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อหลอดลมที่เพาะ ขึ้นจากสเตมเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิด ของคนไข้เอง จึงเป็นครั้งแรกในโลกที่มีการใช้เทคโนโลยีนี้มาปลูกถ่ายเนื้อเยื่อให้คนไข้เป็นครั้งแรกที่คนไข้ซึ่งเข้ารับการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อไม่ต้อง ใช้ยากดภูมิต้านทาน เนื่องจากเนื้อเยื่อเพาะขึ้นมาจากสเตมเซลล์ของตนเอง เมื่อนำมาปลูกถ่ายเข้ากับร่างกาย ระบบภูมิต้านทานในร่างกายจึงไม่ต่อต้านเนื้อเยื่อดังกล่าว ต่างจากกรณีการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อของบุคคลอื่นให้แก่คนไข้ ซึ่งมักจะส่งผลให้ร่างกายคนไข้เกิดการต่อต้านเนื้อเยื่อแปลกปลอมนั้น แพทย์จึงต้องให้ยากดภูมิต้านทานเอาไว้คนไข้ซึ่งได้รับการปลูกถ่าย เนื้อเยื่อหลอดลมนี้ เป็นคุณแม่ลูกสอง อายุ 30 ปี เนื่องจากป่วยเป็นวัณโรค จึงทำให้หลอดลมเสียไป จำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายหลอดลมชุดใหม่ นักวิทยาศาสตร์จากโรงพยาบาลบาร์เซโลนา ในสเปน จึงทดลองเพาะเนื้อเยื่อหลอดลมขึ้นมาจากสเตมเซลล์ของเธอเอง แล้วนำมาปลูกถ่ายให้ หลังการผ่าตัดผ่านพ้นไปนาน 5 เดือน สุขภาพของคนไข้ก็กลับมาดีเช่นเดิม สามารถดูแลลูก ๆ และเดินขึ้นบันไดสองเที่ยวได้โดยไม่หอบเหนื่อยแต่ใช่ว่าเทคโนโลยี สเตมเซลล์จะช่วยให้เพาะหลอดลมเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ เพราะนักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องพึ่งหลอดลมของคนไข้รายหนึ่งที่เพิ่งเสียชีวิต ไป นำมาใช้เป็นโครงต้นแบบ โดยนักวิทยาศาสตร์ได้นำสารเคมีชนิดเข้มข้นและเอนไซม์ มาชะล้างเซลล์ทั้งหมดออกจากหลอดลมดังกล่าว ให้เหลือแต่เพียงโครงหลอดลมเท่านั้น จากนั้น จึงนำเซลล์เนื้อเยื่อที่เพาะจากสเตมเซลล์ของคุณแม่ลูกสองรายนี้ ไปเลี้ยงให้เจริญเติบโตจนเคลือบหลอดลมทั้งหมดเอาไว้ แล้วจึงนำหลอดลมที่มีเซลล์ชุดใหม่เคลือบอยู่ไปปลูกถ่ายให้คนไข้ เนื่องจากเซลล์ที่เคลือบผิวหลอดลม เป็นเซลล์ที่ได้จากสเตมเซลล์ของคนไข้เอง ร่างกายของคนไข้จึงไม่ต่อต้าน คนไข้จึงไม่จำเป็นต้องรับยากดภูมิต้านทาน ความสำเร็จดังกล่าว ทำให้คณะผู้เชี่ยวชาญในสเปนเชื่อมั่นว่า การเพาะเนื้อเยื่อจากสเตมเซลล์ของคนไข้เอง จะมีมากขึ้นในอนาคต จนกลายเป็นเรื่องธรรมดา. -สำนักข่าวไทย

สัปดาห์ที่2 การตัดต่อพันธุกรรมในพืช

การตัดต่อพันธุกรรมในพืช ( Genetic Engineering in Plants)
มาเรื่อง พืช GMO กันบ้าง อย่างแรกที่เราน่าจะสงสัยและอยากเปรียบเทียบกันมาก็คืออันไหนมันดีกว่ากันระหว่างการแบบปกติกับแบบตัดต่อยีน.. การเปรียบเทียบอันนี้..ถึงแม้จะเข้าข้างทางวิทยาศาสตร์ไปหน่อยแต่..ก็น่าสนใจแบบธรรมชาติ แบบ ตัดต่อยีน1.โปรตีนที่ได้มาใหม่อาจจะมาจากชนิดของพืชที่คล้ายกัน 1. โปรตีนใหม่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตทุกอย่าง2.มีการควบคุมให้แสดงลักษณะออกมาน้อยมาก (ต้องปลูกหลายๆครั้ง) 2 มีการควบคุมอย่างจำเพาะเจาะจงถึงการแสดงออกของยีน3. หลายยีนเปลี่ยน 3.เปลี่ยนยีนเดียว4. 4. มีความsensitive สูงสำหรับการตรวจมันในสิ่งแวดล้อม5.ไม่มีการเลือกสิ่งที่ดีจากมัน(เพราะส่วนมากเป็นตามธรรมชาติ) 5. เราเลือกว่าจะให้มีข้อดีอะไร6. สิ่งที่เป็นพิษอาจจะแสดงออกมาได้ 6. เพิ่มทางในการทำให้อาหารปลอดภัยขึ้นตัวอย่างแรกที่เราได้เห็นก็คือ มะเขือเทศ เป็นอาหารที่ขายเป็นอย่างแรกของ พืช GMเนื่องจากว่าการขนส่งของมันทำให้มะเขือเทศ ช้ำได้ง่าย..เค้าเลยใช้ Antisense ไปเกาะกับ mRNA เพื่อหยุดการ transcript ของมันทำให้การสุกของมันช้าลงและมีการขนส่งง่ายขึ้นตัวอย่างที่สองเรียกว่า golden rice ซึ่งเพิ่ม B-Carotene ลงไปเพื่อให้มี vitamin A เยอะๆนอกจากนั้นแล้ว..การทำ Biopharming ก็ทำกันเยอะ.. การเอา Antibody , Antigen, Enzyme, Hormones, Structural protein , Anti-disease agent เข้าไปในพืช..เป็นยาว่างั้นเถอะขั้นตอนง่ายๆ1. สกัดดีเอนเอออกมาจากที่ที่ต้องการ2. โคลนมัน3. สร้างยีนกับโปรโมเตอร์ให้มันสามารถแสดงออกในพืชได้4. ย้ายเข้าไปในพืชโดยใช้ การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ5. ปลูกให้โตวิธีที่ใช้มีอยู่ 3 วิธี1.Vector system in Agrobacterium tumefaciens2. Transfection of plant protoplast3. Transfection by biolistic devicesอย่างไรก็ตามในการตัดต่อยีนในพืชมันก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง สำหรับ vector ที่ใช้..ส่วนมากจะใช้ Agrobacterium tumefaciens แต่อย่างไรก็ตาม มันใช้ได้ใน พืชใบเลี้ยงคู่เพราะใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีการจัดวางตัวที่แตกต่างกัน หรือจะเป็นเรื่องการเลี้ยงพืชให้โตจากเซลล์เล็กๆplant protoplast for transformation1. เอา ผนังเซลล์ออก (จะกลายเป็นเหมือนเซลล์สัตว์)2.Tissue culture แล้วโตใน medium3. Explants - buds, root tips, nodal segments, and germinating seed เซลล์จากอันนี้จะมีการเจริญเติบโตหรือแบ่งตัวได้เร็วTissue culture (Micropropagation)เป็นการเลี้ยงพืชในmedium โดยใส่ hormone ให้มันเกิดยอดขึ้นมาก่อน..พอมันเริ่มโตก็เริ่ม ลด medium ลงแล้วเติมดินเข้าไปแทนเพื่อทำให้มันทนทานต่อสภาพแวดล้อมจริงได้แล้วก็เอาไปปลูกCloning vectors ยังมีไม่เยอะนักที่ใช้กันมากที่สุดคือ tumor-inducing plasmid (Ti plasmid) โดยใช้ Agrobacterium tumefaciens เป็นตัว infect และหลังจากที่ infect เข้าไปแล้ว segment ของTi พลาสมิดเรียกว่า T DNAมันจะไปรวมตัวกับ Host แบบสุ่ม เพราะฉะนั้น..มันจะทำให้เกิดความ unique ขึ้นมาไอ้ตัว Ti plasmid เนี่ยเป็นตัวที่ทำให้เกิดการ ฟอร์มของ tumor ขึ้นมา ตัว ของ T DNA สามารถเอายีนอะไรก็ได้ไปแทนได้มากถึง 40 กิโลเบสของ ดีเอ็นเอ แต่อย่างไรก็ตาม.. เราก็ต้องเว้นสำหรับ regulatrory genes ไว้ด้วย แล้วก็ใส่เข้าไปในprotoplast ต่อโดยการรวมยีนเข้าไปในพืชแล้วก็โตโดยการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ ตัวนี้มันจะมี opine gene ที่สามารถโอนถ่ายเข้าไปใน Host cell ได้ ทำให้ Host cell สามารถผลิต สิ่งที่สำคัญสำหรับการ metabolism สำหรับ A. tumefaciens ซึ่งยีนพวกนี้จะอยู่ในส่วนของ Tdna ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกว่า เป็น ยีนที่จะได้รับการถ่ายโอนเข้าไปใน Host cell.เพราะฉะนั้น ในการถ่ายโอนยีนจะมีใหญ่ๆอยู่สองอย่าง1. ทำ Protoplast (คือการเอาผนังเซลล์ออก) แล้วใส่ plasmid เข้าไปตรงๆเลย2. ใช้ Agrobactiriam ใส่เข้าไปแล้วถ่ายโอน T-DNAหลักการถ่ายโอน (Transformation) โดยการใช้ เวคเตอร์สองอัน (Binary vectors)วงแรก (ของ A. tumefaciens) จะมี ตัวหลักๆคือ Regulatory gene ซึ่งเป็นตัวทำเกี่ยวกับ การ replication และ Helper Ti plasmid เป็น ตัวผลิตโปรตีนสำหรับการ เอา TDNa เข้าไปในเซลล์ วงนี้ต้อง เอา ตรงส่วนTDNA ของมันเองออก (เพื่อเอา ของอีกอันที่เราต้องการมาใส่)วงที่สอง เป็น TDNA ที่ต้องการ..แล้วใส่เข้าไปแทนใน Tiการใช้ไวรัสเป็น vector (biolistic method)ข้อดี : 1. เอาเข้าไป infect ใน พืชได้เลยโดยไม่ต้องทำให้เป็น protoplast ก่อน2. สามารถใส่โปรตีนเข้าไปแสดงได้เยอะ เพราะไวรัสมีจำนวนเยอะ3. สามารถไปได้ทุกโครงสร้างของพืชแล้วเปลี่ยนยีน..โดนที่เราไม่ต้องมานั่งปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ4. ค่อนข้างจำเพาะเจาะจง5. ราคาไม่แพง6. สามารถใช้ในพืชที่ไม่มีวิธีอื่นในการ Transformationข้อเสีย: 1. ตัวไวรัสมันจำเพาะเจาะจงกับพืชแต่ละชนิด2. ใช้เวลานานในการศึกษาไวรัส3. การทำงานของแต่ละตัวไวรัส แตกต่างกันไป..สิ่งที่ศึกษาอยู่ตอนนี้คือผลิตภัณฑ์ของThearaputic Protein ในพืชที่ปลูก แต่ในปัจจุบัน การพัฒนาก็ยังอยู่ในวงที่แคบของ ไวรัสไวรัสที่ใช้แยกเป็น สอง ประเภท1. DNA ไวรัส เช่น caulimoviruses มีคุณสมบัติกระจายตัวไปทั่วพืช โดยที่การinfect สามารถทำได้เลยโดยที่ไม่ต้องทำให้เป็น protoplast ก่อน แต่มีพื้นที่น้อยในการใส่ ดีเอ็นเอลงไป หรือ โปรตีน เมื่อเทียบกับ Ti plasmid แล้ว คนยังไม่ค่อยใช้อันนี้สักเท่าไรgeminiviruses สามารถ infect เข้าไปใน พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและคู่ได้ ซึ่งไม่เหมือนกับ Ti plasmid ที่ยังเป็นปัญหาอยู่..มันประกอบไปด้วย Maize streak virus (MSV) แล้ว casava latent virus (CLV) ซึ่งตัว MSV เนี่ยเอาไว้ใช้infect เข้าไปในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว โดยเอาพลาสมิด ของ Agrobacterium เข้าไปในตัวไวรัส แล้ว infect ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว2. RNA ไวรัส เช่น Brome mosaic virus (BMV) : มีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วน ส่วนที่ 1 และ 2 เป็นส่วนสำคัญในการ replication ส่วนที่ 3 สำหรับ Coating protein เป็นที่เก็บยีนสำหรับการแสดงออกของมันแล้วก็ replicationส่วนมากศึกษาในข้าวบาร์เลย์tobacco mosaic virus (TMV): ส่วนมากจะโคลน DNA อื่นในที่ที่มี coat protein สำหรับเก็บ เอาไว้ใช้ในการ replication มีคุณสมบัติในการ ใส่ RNA ที่ใหญ่ๆได้เพราะมี capsid สร้างขึ้นมารอบๆ.. ตัวนี้เอาไว้ใช้ในการทำผลิตผลของTheraputic protein ยาสูบซึ่งง่ายต่อการเจริญเติบโตวิธีการอื่นๆ1. Microinjection คือการ ใช้ เข็มmicropipette แล้วฉีดเข้าไปใน host cell โดยตรง แล้ว Replicate2. Electroporation: เป็นการใช้ไฟฟ้าทำให้เกิดรูแล้วก็เอาดีเอ็นเอเปล่าๆเข้าไป... ซึ่งเมื่อเทียบกับ แบคทีเรียแล้วพืชจะยากกว่าเพราะมันมีผนังเซลล์3. Particle bombardment or Biolistic เป็นการเคลือบ ดีเอ็นเอก่อนอย่างเช่นทอง แล้วยิงเข้าไปในพืชโดยใช้ Gene gun ซึ่งมี pressure ที่สูงมาก ค่อนข้างจะเป็นที่นิยม เพราะมันให้ผลที่ดีและสามารถทำในหลายๆเซลล์ได้ในคราวเดียวข้อดี:1. สามารถใช้กับเซลล์อะไรก็ได้2.ช่วยขจัดปัญหาที่มากับตัวผลิตภัณฑ์ของ callus และสามารถใช้ได้กับหลายๆชนิดของเซลล์ข้อเสีย1. ต้องมีค่าpressure ที่เหมาะที่สุดในการยิง2. สามารถ transform เข้าไปแค่ชั้นนอกๆของเซลล์3. ยากในการยิงเข้าไปในชั้นของเซลล์ที่ต้องการ4.Direct DNA transferคือการทำprotoplast แล้วเอา ดีเอ็นเอที่สกัดออกมา ใส่เข้าไปใน สารละลายแล้ว ให้เข้าไปในพึช ส่วนมากใช้กับ Ti plasmidสิ่งที่มีผลต่อการ transformation1. Chois of host species2. วิธีการ transformation3. สภาพการเติบโต4. จำนวนที่ copy ถ้า ทำมากๆส่วนมากจะใช้ silencing5. โครงสร้างของ locus : Rearrangement and duplication -- inactivation6. การรวมตัวเข้าไปใน backbone DNA7. Regulatory sequence8. Insertion site ด้านที่ ใส่เข้าไปสามารถคอนโทรลได้มั้ย9. มี sequence อะไรที่อยู่รอบๆ10. Mulimeric protein ถ้าโปรตีนเป็น 2nd stucture ยีนที่เข้าไปสามารถไปขัดขวางโครงสร้างของ โปรตีน (ต้องการ) หรือไป react with native Protein (fail)11. กาเลือก host speciesGenetic marker ..หลังจาที่เรามีการใส่ยีนลงไปแล้ว..เราต้องการที่จะรู้ว่า ยีนนั้นไปอยู่ส่วนไหนแล้ว..ก็เลยต้องใช้ marker เป็นตัวทำให้เราเห็น ซึ่งมันถูกแบ่งเป็น สองประเภท1. Selectable markers คือการเลือกของ transformed cell โดยความสามารถของมันในการเติบโตในที่ที่มี antibiotic หรือ herbicide2. Screenable markers ทำให้สามารถแยกออกว่าอันไหน transformed cell โดยการกะประมาณของ โปรตีนทีถูกผลิตออกมา โดยการใช้ Enzyme activity อย่างเช่น luciferase หรือ Beta-galactosidase ทำให้รูว่า โปรตีนเคลื่อนไปอยู่ที่ไหนแล้วGUS system มาจาก E.coli แต่ถูก engineered เข้าไปในพืช จะให้สีฟ้าเพื่อบอกตำแหน่งของ โปรตีนLuciferase system มาจาก หิ่งห้อย หรือแบคทีรเย สามารถเห็นโปรตีนได้เฉพาะในที่มีระบบการลำเลียงของ พืชเท่านั้น ส่วนมากจะเอาไว้ศึกษาระบบการลำเลียงแล้วดูว่า โปรตีนแสดงออกมาตรงไหนGreen Fluorescent Protein (GFP) มาจากjellyfish จะผลิตสีเขียวแล้วสามารถเห็นได้เลยว่าโปรตีนอยู่ตรงไหนตัวอย่าง GM plant1. Bt corn, cotton and potatoes เอา Bt ยีนมาจาก Bacillus แล้วใส่เข้าไปในพืช ทำให้พืชสามารถทนต่อสารเคมีได้2. Round up ready soybeans, corn , conola and cotton เอายีนมาจาก Salmonella เพื่อที่จะทำลายยาฆ่าแมลง3. Golden rice by Envinia uredovora and daffodil พอใส่เข้าไปทำให้เกิดการผลิต carotine มากขึ้นข้อเสียของ GM1. เมื่อเราใส่โปรตีนแปลกๆเข้าไป..อาจทำให้คนแพ้ได้2. กระทบสิ่งแวดล้อมข้อดี1. เพิ่มปริมาณพืชที่ปลูก.. คนเพิ่มขึ้น2. เพิ่มคุณค่าทางอาหารให้พืช3. ลดการใช้สารเคมี4. สามารถทำเป็นยาที่กินได้หรือวัคซืนที่กินได้5. ,ผลิตภัณฑ์ของโปรตีนอย่างเช่น specific antibody

สัปดาห์ที่1 เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับblog

สัปดาห์ที่ 1 เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ BLOG
1. จงอธิบายความหมายของ Blog
ความหมายของ BlogBlog คืออะไรBlog คืออะไรSeptember 30, 2005 at 12:44 am · Filed under ความรู้เรื่อง BlogBlog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเองมีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้นจุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเองในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้นผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaqเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจากการเขียนเป็นงานอดิเรกของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูลตั้งแต่เรื่องการเมืองไปจนกระทั่งเรื่องราวของการประชุมระดับชาติ

2. จงยกตัวอย่าง Blog มา 3 ตัวอย่าง (รูป)



3. จงบอกชื่อแว็บที่ให้บริการ Blog ในประเทศ
www.chaiwatthirapantu.com

4. จงบอกชื่อแว็บที่ให้บริการ Blog ต่างประเทศ
http://www.weblogalot.com/

5. จงเขียนอธิบายวิธีการสร้างBlog อย่างระเอียดพร้อมรูปภาพ
นึกถึงวันที่ตัวเองเข้ามาจะสร้าง blog แต่เข้ามาไม่ถูก ไปอ่านที่ webmaster ก็ไม่เข้าใจ ต้องไปให้ป้าแจ๋วจูงมือเข้ามา แล้วก็เริ่มไปขลุกอยู่บ้านคุณรำเพย จนเขาต้องเปลี่ยนปาเก้ไปหลายชุดคุณรำเพยเข้ามาตอบให้ก็หลายหน ทั้งหน้าไมค์หลังไมค์ ตอนนี้พอจะเข้าใจวิธีการสร้าง blog บ้างและมีเพื่อนๆที่อยากให้สอนอีกหลายคน จึงนำวิชาความรู้เท่าที่มี มาถ่ายทอดให้แบบง่ายๆขอขอบคุณป้าติ๋ว (nature-delight) กัลยาณมิตร ที่จูงมือกันมาสร้าง blog แบบทุลักทุเลและต่างคนต่างให้กำลังใจกันมาตลอด จนกระทั่งถึงวันนี้ ...ถ้ามีปัญหา เชิญถามทางหลังไมค์





6. จงเขียนสิ่งต่อไปนี้
6.1Gmail ของนักศึกษา
youyou.you1212121@gmail.com
6.2Blog ของนักศึกษา
wwwyouyou.blogpot.com
7. จงอธิบายความรู้ศึกที่เรียนวิชานี้
เรียนแล้วได้ความรู้และสามารถนำไปใช้ในชิวิตประจำวันได้